การพัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ร่วมกับคิวอาร์โค๊ด สำหรับการบันทึก การเข้าเรียนของนักศึกษาวิชาทหาร

Main Article Content

มงคล รอดจันทร์
อวยไชย อินทรสมบัติ
ธานิล ม่วงพูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ร่วมกับคิวอาร์โค๊ด สำหรับการบันทึกการเข้าเรียนของนักศึกษาวิชาทหาร 2) ทดสอบประสิทธิภาพของระบบ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูฝึกนักศึกษาวิชาทหารที่มีต่อระบบ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้คือ ครูฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ร่วมกับคิวอาร์โค๊ด สำหรับการบันทึกการเข้าเรียนของนักศึกษาวิชาทหาร  แบบประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ร่วมกับคิวอาร์โค๊ด สำหรับการบันทึกการเข้าเรียนของนักศึกษาวิชาทหาร แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของโมบายแอปพลิเคชัน สำหรับแสกนคิวอาร์โค๊ด และส่วนเว็บแอปพลิเคชัน สำหรับบริหารจัดการข้อมูล  2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพแอปพลิเคชัน โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.43) และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.56, S.D. = 0.60)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2555). คิวอาร์โค้ด: นวัตกรรมการสื่อสารการตลาดในยุคดิจิทัล. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2(2), 85-96.
[2] Probst, A. (2012). The expectations of Quick Response (QR) codes in print media: An Empirical Data Research Anthology. UW-L Journal of Undergraduate Research, 15, 1-13.
[3] Oonk, L. (2013). QR codes, quick response or quick rejection? Unpublished doctoral dissertation, University of Twente.
[4] Kewselberg P, Leithner N, Mulazzani N, Schrittwieser S, Sinha M, Weippl E. (2010). QR Code Security. MoMM’10, Paris France, pp. 430 – 435.
[5] พัชร พิพิธกุล. (2554). คิวอาร์โค้ดในงานบริการสารสนเทศห้องสมุด. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 4(1), 71-81.
[6] กมลมาลย์ เสวตวงษ์, กิตตินันท์ นาภา, วนิดา แก่นอากาศ และวลัยลักขณ์ แสงวรรณกูล. (2557). เทคโนโลยี NFC และ QR Code ในสมาร์ทโปสเตอร์แนะนำห้องสมุด. PULINET Journal, 1(1), 27-31.
[7] พิทยา คำปัน, กฤตญา บุญสุขแสง, ปัทมา ตริตานนท์, อวยไชย อินทรสมบัติ และธานิล ม่วงพูล. (2556). การเข้ารหัสข้อมูล บัญชีผู้ใช้ ด้วย QR code บนแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 5. 18-19
[8] นฤเทพ สุวรรณธาดา, สมคิด แซ่หลี และสรเดช ครุฑจ้อน. (2556). การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดในการบันทึกข้อมูลการเข้าร่วม กิจกรรม เพื่อสำเร็จการศึกษาโดยนำเข้าข้อมูลผ่านระบบเก็บข้อมูลออนไลน์. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 9(2), 20-26.
[9] โป่งลาง เพ็ชรรุ่ง, ประเสริฐศักดิ์ อู่อรุณ. (2558). ระบบการตรวจสอบการเข้าเรียนของนิสิตโดยใช้ QR-CODE : กรณีศึกษา คณะ ศิลปศาสตร์และวิทยาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์. The 3rd ASEAN Undergraduate Conference in Computing (AUC2) 2015, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร, จังหวัดสกลนคร.
[10] รัชณาภา ดวงบุบผา และอมรฤทธิ์ พุทธิพิพัฒน์ขจร. (ปปม.). ระบบการเช็คชื่อเข้าห้องเรียนออนไลน์. สืบค้นจาก http://cpe.eng.kps.ku.ac.th/db_cpeproj/fileupload/project_IdDoc41_IdPro40.pdf
[11] Black Box Testing. (ป.ป.ม.). Black Box Testing. เข้าถึงได้จาก http://agile.csc.ncsu.edu/SEMaterials/BlackBox.pdf
[12] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[13] ธานิล ม่วงพูล, อวยไชย อินทรสมบัติ และฐาปกรณ์ เทศทอง. (2560). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อยืนยันการออกตรวจของตำรวจสายตรวจ ณ ตำแหน่งตู้แดง แบบออนไลน์. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศประยุกต์ และการประชุมวิชาการด้านบริหารธุรกิจ ครั้งที่ 11. 25 มกราคม 2560 ณ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก บางนา กรุงเทพมหานคร.