การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SQ3R โดยประยุกต์ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

อรัญญา บำรุงกลาง

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการสอนแบบ SQ3R โดยประยุกต์ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2) เพื่อศึกษาความเหมาะสมกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบ SQ3R โดยประยุกต์ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบแบบ SQ3R โดยประยุกต์ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2  รหัสวิชา อ 21102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1  และ 4) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ SQ3R โดยประยุกต์ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียนเมืองคง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 37 คนเครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ3R โดยประยุกต์ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 8 แผน จำนวน 16 ชั่วโมง  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ  3) แบบประเมินความเหมาะสมกิจกรรมการเรียนรู้ 4)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนแบบ SQ3R โดยประยุกต์ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test


  ผลการวิจัย  พบว่า 


  1. กิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบ SQ3R  โดยประยุกต์ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มี 5 ขั้นตอนประกอบด้วยขั้นตอน 1)ขั้น Survey (S) 2)ขั้น Question (Q) 3) ขั้น Read (R) 4) ขั้น Recite (R)

5) ขั้น Review (R) ทำให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสูงขึ้น   


  1. ผลการประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบ SQ3R โดย

ประยุกต์ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการประเมินความเหมาะสม ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นโดยรวมในระดับเหมาะสมมาก


  1.     3. ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 8 เล่ม1) เรื่อง School Objects 2) เรื่อง School Subjects 3) เรื่อง Places in a House 4) เรื่อง Family Members5) เรื่อง Daily Routines 6) เรื่อง Hobbies 7) เรื่อง Sickness.8) เรื่อง Food and Drinks ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นโดยรวมในระดับเหมาะสมมากที่สุด

  2.                       4. ผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ SQ3R โดยประยุกต์ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

พบว่า


4.1 แผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าประสิทธิภาพ 81.99/85.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80


4.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าการทดสอบก่อนเรียน


ของผู้เรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น


                            4.3 ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 74.15


                            4.4 ความพึงพอใจของผู้เรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความเห็นโดยรวมในระดับเหมาะสมมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
[2] โรงเรียนเมืองคง. (2558). รายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2558 นครราชสีมา:โรงเรียนเมืองคง. อัดสำเนา
[3] พัดชา อินทรัศมี. (2555). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง การใช้ห้องสมุด สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์ กศ.ม.(เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[4] ลลิดา เกตุเอม. (2555). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Food and drink ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดนาขวาง จังหวัดสมุทรสงคราม. การค้นคว้าแบบอิสระบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[5] ดุษฏี นาหาร. (2553). การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเบื้องต้นเพื่อความเข้าใจและ คงทนในการ
เรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ SQ3R. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
[6] วันเพ็ญ วัฒฐานะ. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการ
อ่านและศึกษาพฤติกรรมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตะปอนน้อย จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
[7] พรพิมล บุษผาโสภณ. (2556). ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ3R ประกอบกับการใช้ผังกราฟิก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
[8] ผานิต เกิดสิน. (2555). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บูรณาการในการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[9] นัยนา ปิ่นสุภา. (2557). รายงานผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยเทคนิคการ อ่านแบบ SQ3R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบร่วมมือ. โรงเรียนเทศบาลบ้าน มหาชัย(อนุกุลราษฏร์), สมุทรสาคร
[10] ศิริพร บุญเรือง. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน ดอนหวาย (นครรัฐประสาท). (การค้นคว้าแบบอิสระ), มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
[11] สวัสดิ์ จันทร์ไตรรัตน์และสิทธิพล อาจอินทร์. (2560). การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมุ่ง ประสบการณ์ภาษาร่วมกับเทคนิค SQ3R. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.