การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันเห็ดนางฟ้าถือว่าเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากมีประโยชน์และให้คุณค่าทางอาหารสูงจึงทำให้เกษตรกรหันมาทำอาชีพเพาะเห็ดเพิ่มขึ้นบางกลุ่มก็ประสบผลสำเร็จบางกลุ่มก็ล้มเหลวซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายๆด้านดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาและวางแผนเป็นอย่างดีจากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละฤดูทำให้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดโดยเฉพาะอุณหภูมิซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบของดอกเห็ดโครงการวิจัยนี้จึงได้ออกแบบระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสำหรับโรงเรือนเพาะเห็ดด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์โดยมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อการเพาะเห็ดตลอดจนการออกแบบโครงสร้างโรงเรือนที่เหมาะสมโดยแบ่งการทดสอบออก 2 ส่วนคือการทดสอบในส่วนของระบบควบคุมและการทดสอบผลผลิตของดอกเห็ดในโรงเรือนที่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นโดยนำก้อนเห็ดนางรมและเห็ดนางฟ้ามาทดสอบจำนวน300 ก้อนและเปรียบเทียบประสิทธิภาพโรงเรือนเพาะเห็ดที่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่สร้างขึ้นกับโรงเรือน
ผลการทดสอบระบบควบคุมการทำงานพบว่าระบบสามารถทำงานตามเงื่อนไขที่ออกแบบไว้ซึ่งให้ผลผลิตเป็นที่พอใจและในส่วนการทดสอบผลผลิตของดอกเห็ดพบว่าเห็ดที่เก็บจากโรงเรือนที่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นมีปริมาณที่มากกว่าโรงเรือนแบบทั่วไปและเมื่อนำดอกเห็ดที่ได้มาชั่งน้ำหนักพบว่าเห็ดที่ได้จากโรงเรือนที่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นมีน้ำหนักเฉลี่ยก้อนละ 1.506 กิโลกรัมและมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.17 ซึ่งเมื่อเทียบกับเห็ดที่เก็บจากโรงเรือนแบบทั่วไปพบว่ามีน้ำหนักเฉลี่ย 1.206 กิโลกรัมและมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.28 ซึ่งผลการทดสอบนี้เป็นการยืนยันว่าอุณหภูมิและความชื้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดและนอกจากระบบควบคุมจะสามารถใช้ในโรงเรือนได้แล้วยังสามารถประยุกต์ใช้ควบคุมในกระบวนการบ่มเชื้อเห็ดเพื่อเร่งการเจริญเติบของเชื้อเห็ดได้อีกด้วย
Article Details
References
[2] สมคิด จาตุศรีพิทักษ์. (2559). อนาคตเศรษฐกิจไทย 4.0. ปาฐกถาพิเศษ จัดโดยสภาหอการค้า-จีน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ อาคารสภาหอการค้าไทย.
[3] สุมิท แช่มประสิทธิ์. (2559). เกษตรกรไทยยุค THAILAND 4.0. [ออนไลน์]
เข้าถึงได้จาก: http://www.qmlcorp.com/content/เกษตรกรไทยยุค-thailand-4.0
[4] Shashwathi, N., Priyam B., & Suhas, K. (2012). Smart farming: A step towards techno-savvy
agriculture. International Journal of Computer Applications, 57(18), 45-48.
[5] Maheswari, R., Ashok, K. R., & Prahadee swaran, M. (2008). Precision farming technology, adoption decisions and productivity of vegetables in resource-poor environments. Agricultural Economics Research Review, 21, 415-424.
[6] ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ. (2550). ฟาร์มอัจฉริยะ ตอนที่ 1. วารสารอัพเดท, 22(241), 93-96.
[7] สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). Internet of things . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
http://oho.ipst.ac.th/internet-of-things
[8] สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. (2560). Internet of Things. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.ega.or.th/th/content/890/882
[9] NECTEC. (2560). NETPIE: Internet of Things. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.nectec.or.th/innovation/innovation-software/netpie.html