การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSR

Main Article Content

สุพล เชื่อมพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักการ CSR 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักการ CSR กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คนประกอบด้วยศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครู จำนวน 3 คน และนักวิชาการ จำนวน 3 คน โดยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาด้านการศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักการ CSR สถิติที่ใช้  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักการ CSR ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นโยบาย/กรอบยุทธศาสตร์ 2) กรอบการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียว 3) หลักการ ทฤษฎี 4) ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการและ 5) ตัวชี้วัดความสำเร็จ 2. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักการ CSR พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.82, S.D.= 0.38) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมวิชาการ. (2556). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเป็นสื่อสำคัญ. วารสารวิชาการ, 16(3), 17.
[2] พระมหาขุนทอง อคฺควโร (สนนำพา). (2554). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
[3] การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2546). แบบประเมินโรงเรียนสีเขียว. นนทบุรี : ฝ่ายประชาสัมพันธ์.
[4] โรงเรียนเมืองคง. (2559). โครงการยกระดับห้องเรียนสีเขียวมุ่งสู่โรงเรียนสีเขียว เพื่อสร้างเครือข่ายรักษ์พลังงาน. นครราชสีมา. 26.
[5] สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท. 1-7.
[6] Carroll, A. B., &Shabana, K. M. (2010). The business case for corporate social responsibility: A review of
concepts, research and practice. International Journal of Management, 12(1), 85-105.
[7] ธัญญลักษณ์ ทองนุ่น. (2557). ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาสถานศึกษาภาครัฐสีเขียวกรณีศึกษาโรงเรียนบ้านน้ำมิน ตำบล
แม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, เชียงราย.
[8] Best, John W. (1997). Research in Education. ed., Englewood Cliffs, New Jersey. Prentice – Hell, lnc.