การออกแบบและสร้างเครื่องบดวัสดุปลูกจากกาบมะพร้าวควบคุมด้วยพีแอลซี

Main Article Content

nitipong somchaiwong
ปกรณ์ เสรีเผ่าวงษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องบดวัสดุปลูกจากกาบมะพร้าวควบคุมด้วยพีแอลซีสำหรับโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น โดยสร้างเครื่องบดเศษวัสดุปลูกจากกาบมะพร้าวที่ผ่านการใช้งานมาเป็นเวลา 3 ปี นำมาผ่านกระบวนการบดแล้วนำมาใช้ใหม่ โดยอาศัยหลักการทำงานของใบมีดบด จำนวน 2 ชุด 30 ใบ และ 42 ใบ หมุนแบบอิสระ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ ขนาด 2 แรงม้า  ควบคุมการทำงานด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ และลดกระแสสตาร์ตแบบ Soft Starter ด้วยโซลิดสเตตรีเลย์ โดยให้วัสดุปลูกผ่านใบมีดบด และผ่านตะแกรงร่อนแบบรางเขย่าถ่ายเทวัสดุ เพื่อทำหน้าที่แยกใย และขุยมะพร้าวออกจากกันให้มีขนาดเล็กกว่า 0.5 ลูกบาศก์เซนติเมตร


จากการทดลองโดยใช้ปริมาณกาบมะพร้าว 500 กรัม พบว่า ในการบดวัสดุปลูกจากกาบมะพร้าวแบบใบมีดบด 30 ใบ มีน้ำหนักหลังการบดวัสดุเฉลี่ย 447.5  กรัม แยกเป็นขุยมะพร้าวดีเฉลี่ย 410 กรัม และคิดเป็น   เส้นใยของเสียเฉลี่ย 45 กรัม เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดเฉลี่ย 9.5 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาในการบดเฉลี่ย 4.375 นาที และแบบใบมีดบด 42 ใบ มีน้ำหนักหลังการบดวัสดุเฉลี่ย 445  กรัม แยกเป็นขุยมะพร้าวดีเฉลี่ย 405 กรัม และคิดเป็นเส้นใยของเสียเฉลี่ย 45 กรัม เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดเฉลี่ย 11 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาในการบดเฉลี่ย 4.34 นาที จากผลการทดลองชุดใบมีดบด 30 ใบจะให้ปริมาณน้ำหนักของขุยมะพร้าวหลังการบดมากกว่าชุดใบมีด 42 ใบ ในส่วนความละเอียดของวัสดุที่ผ่านการบดชุดใบมีดบด 42 ใบ จะมีความละเอียดขนาด ≤0.1 ซม. มากว่าชุดใบมีดบด  30 ใบ ตามตารางการทดลองที่ 2 และ 4


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] วีรศักดิ์ ฟองเงิน, สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ, และรัฐสิทธิ์ ยะจ่อ. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 172-182.
[2] มนูญ บุญศิลปะ, อนุวัช ดีณรงค์, และอัครพงษ์ ปากหวาน. (2552). เครื่องตีใยมะพร้าว. เชียงราย: สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย.
[3] กฤติศักดิ์ สุขจิต, คมกฤษณ์ ด้วงสา และอธิวัฒน์ ค่าคูณ. (2555). เครื่องย่อยเปลือกมะพร้าว. (โครงงานปริญญาบัญฑิต). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
[4] โกศล มูสโกภาศ. (2556). การพัฒนาออกแบบสร้างเครื่องย่อยเปลือกมะพร้าวแห้งเพื่อใช้ในการเพาะชำต้นกล้า. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(2), 48-56.
[5] ทักษ์ดนัย ยองขอด, ยุทธพงษ์ ผาสิงห์, และศิรายุทธ พรหมรส. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการแยกขุยและใยจากเปลือกมะพร้าว. (โครงงานปริญญาบัญฑิต). เชียงราย: สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย.
[6] เรืองเกียรติ ศุภาดารัตนวงค์. (2547). เครื่องย่อยวัสดุเกษตรแรงเฉือน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[7] C. Hernandez & A. Daviu. (2016). Startup-based Rotor Fault Detection in Soft-started Induction Motors for Different Soft-starter Topologies. in IECON 2016 Annual Conference of the IEEE Industrial Electronics Society, pp. 6977-6982.
[8] T.B. Onofre & E.E. Prates. (2016). Implementation of a Laboratory-based Low Cost AC Chopper Soft-Starter. 2016, in International Conference on Harmonics and Quality of Power (ICHQP), pp. 885-889.
[9] H. Azmi , A.B. Sanuddinb, & M.Z. Zakimic. (2015). Design and Development of a Coconut De - Husking Machine (Machine Component Design). in Journal of Advanced Research Design, 4(1), 9-19.
[10] S. Kumar & H. Kumar. (2015). Design and Development of Agricultural Waste Shredder Machine. in IJISET - International Journal of Innovative Science, Engineering & Technology, 10(2), 164-172.