การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับสำหรับประชาสัมพันธ์ชมรมคนรักในหลวง จังหวัดสิงห์บุรี -

Main Article Content

อรวรรณ แท่งทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับประชาสัมพันธ์ชมรมคนรัก
ในหลวง จังหวัดสิงห์บุรี และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมรมคนรักในหลวง จังหวัดสิงห์บุรี
ที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับประชาสัมพันธ์ชมรมคนรักในหลวง จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน ภูมิลำเนา ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมจากแหล่งข้อมูลใด บุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรม พาหนะที่ใช้ในการเดินทาง จำนวนครั้งที่มาเข้าร่วมกิจกรรม และค่าใช้จ่ายในการมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมรมคนรักในหลวง จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.842


สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบที โดยการทดสอบเอฟ การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบนัยสำคัญทางสถิติ จะใช้การทดสอบเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับประชาสัมพันธ์ชมรมคนรักในหลวง จังหวัดสิงห์บุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการส่งเสริมและสร้างภาพลักษณ์ของชมรมคนรักในหลวง จังหวัดสิงห์บุรี ด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความเข้าใจ ด้านการกระจายข่าวสาร และด้านการสร้างความสนใจและดึงดูดความสนใจ

2. การเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมรมคนรักในหลวง จังหวัดสิงห์บุรี จำแนกตามบุคคลที่ร่วมเดินทาง พาหนะที่ใช้ในการเดินทาง และจำนวนครั้งที่มาเข้าร่วมกิจกรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามภูมิลำเนา และตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมจากแหล่งข้อมูลใด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และค่าใช้จ่ายในการมาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[2] พรทิพย์ ทวีพงษ์, และปลื้มใจ ไพจิตร. (2557). การพัฒนาสื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมศรีวิชัยในการรองรับสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี: จังหวัดสุราษฎร์ธานี.
[3] สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สุวิริยสาส์น.
[5] ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
[6] ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ.
[7] ประคอง กรรณสูต. (2548). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
[8] ศรีเพ็ญ ทรัพย์มนชัย. (2548). “The Balanced Scorecard เทคนิคการวัดผลการดำเนินกลยุทธ์” วารสารบริหารธุรกิจ. (77) : 37:38 ; มกราคม – มีนาคม
[9] ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). สถิติวิทยาการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาสน์.
[10] ภัสวลี นิติเกษการสุนทร. (2546).หลักสำคัญของการสื่อสาร. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ Imprint
[11] สมศักดิ์.(2559).ความส าคัญของการถ่ายภาพ.สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2559. เข้าถึงได้จาก https://www.teacher.ssru.ac.th/somsak_kl/file.php/1/22557/2/w10_photography_for_art s.pdf
[12] ไพมานี บุบผาพัน ณรงค์ฤทธิ์ โสภา และศศิธร เชาวรัตน์ (2561). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน้ำตกคอนพระเพ็ง เมืองโขง แขวงจ้าปาสัก สปป. ลาว. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 5 พิเศษ (สืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการ) : พ.ศ. 2561.