แอปพลิเคชันการส่งเสริมการท่องเที่ยว 6 ของที่ระลึกต้องซื้อในจังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง

Main Article Content

ยุภา คำตะพล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 6 ของที่ระลึกต้องซื้อในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแอปพลิเคชัน ส่งเสริมการท่องเที่ยว 6 ของที่ระลึกต้องซื้อในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยเครื่องมือที่ใช้พัฒนาแอปพลิเคชันประกอบด้วย โปรแกรม Unity และโปรแกรมภาษา C# ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวคนไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจ โดยแบ่งเป็นด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบและจัดรูปแบบ และด้านประโยชน์ของแอปพลิเคชันต่อการนำไปใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 6 ของที่ระลึกต้องซื้อในจังหวัดเพชรบูรณ์ในรูปแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.47, S.D.=0.61)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ภาสกร ใหลสกุล. (ม.ป.ป.). Augmented Reality (AR) ความจริงต้องขยาย. สืบค้น 20 ตุลาคม 2561, จาก https://tednet.wordpress.com/2014/04/20/augmented-reality-ar-ความจริง ต้องขยาย/
[2] สยมล วิทยาธนรัตนา. (ม.ป.ป.). ความจริงเสมือน (Virtual Reality): การนำไปใช้และผลกระทบด้านการท่องเที่ยว. สืบค้น 20 ตุลาคม 2561, จาก http://www.etatjournal.com/mobile/index.php/menu-read-tat/menu-2011/menu-2011-apr-jun/100-22554- virtual-reality
[3] โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[4] อัฉราวุฒิ ศรีประไหม และพจน์ศิรินทร์ ลิ้มปินันทน์. (2560). เทคโนโลยีเสมือนจริงส่งเสริมการท่องเที่ยววัดมหาธาตุ. The 5th ASEAN Undergraduate Conference in Computing (AUC2). หน้า 44-48.
[5] ชไมพร ทองขาว และมาลีรัตน์ โสดานิล. (2557). ระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติทางภาคใต้ของประเทศไทยด้วย กูเกิลแมพเอพีไอ บนมือถือสมาร์ทโฟน. The Tenth National Conference on Computing and Information Technology. หน้า 270-275.
[6] กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7, บริษัทธรรมสาร.
[7] โศรยา หอมชื่น. (2557). World Travel & Tourism Council The Asia Summit: Staying Ahead of Tomorrow. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว. 3(1) มกราคม-มีนาคม (1/2014), หน้า 40.
[8] พิชญ์สินี พุทธิทวีศรี วรรณพรรธน์ ริมผดี และดลใจ ฆารเรือง. (2560). นวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง 3 มิติเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์อย่างยั่งยืน. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต