การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสนับสนุนการประชาสัมพันธ์สถาบันการศึกษา

Main Article Content

จักรพันธ์ สาตมุณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสนับสนุนการประชาสัมพันธ์สถาบันการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ จังหวัดนครราชสีมา  2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชันสนับสนุนการประชาสัมพันธ์สถาบันการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ จังหวัดนครราชสีมา โดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานแนะแนวและประชาสัมพันธ์วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน  15  ท่าน การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันครั้งนี้ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบการจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ร่วมกับระบบการบริหารแผนที่ในเขตพื้นที่การประชาสัมพันธ์ทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เว็บแอปพลิเคชันสนับสนุนการประชาสัมพันธ์สถาบันการศึกษา (PRsystem)  2) แบบประเมินประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญ  3) แบบประเมินประสิทธิผลของเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้หลักทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อระบบการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ โดยใช้ Likert Scale 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


              ผลการวิจัยพบว่า 1)  เว็บแอปพลิเคชันสนับสนุนการประชาสัมพันธ์สถาบันการศึกษากรณีศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย ระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ ระบบประมวลผลข้อมูล ระบบแบ่งผู้ใช้งานออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ดูแลระบบ กลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานแนะแนวและประชาสัมพันธ์ ประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันโดยผู้เชี่ยวชาญภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลของการยอมรับต่อระบบสนับสนุนการประชาสัมพันธ์โดยผู้ใช้งานโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
[1] สารานุกรมเสรี. (2561). โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ. สืบค้นจากโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ.
[2] เอกภพ บุญเพ็ง และคณะ. (2556). การบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่กับระบบธุรกิจอัจฉริยะ. การประชุมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยี ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[3] วารุณี ปารีพันธ์ และคณะ. (2556). “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการจัดบริการงานแนะแนวโรงเรียน
บ้านคําแม่นาง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.” บัณฑิตศึกษา, 10, 47.
[4] ภูวดล บัวบางพลู. (2554). การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายระดับอุดมศึกษา. วารสาร SDU
Research, 7(2), 1-17.
[5] พูลศักดิ์ หลาบสีดา และคณะ. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานบริการของสายงานเทคโนโลยีและ
สารสนเทศภายในบริษัทกรณีศึกษา บริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งใกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัย
ครั้งที่ 12 . พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[6] เอกชัย กกแก้ว และคณะ. (2559). เว็บแอปพลิเคชันเพื่อบูรณาการข้อมูลการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตโดยใช้ระบบสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์. ปัตตานี : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
[7] ดาวรถา วีระพันธ์. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารวิชาการ
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 145-154.
[8] มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ.
[9] สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุดรธานี :
อักษณศิลป์การพิมพ์.
[10] บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.