การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ในสภาพแวดล้อมยูบิควิตัส

Main Article Content

Jirapon Liwa

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ในภาพแวดล้อมยูบิควิตัส 2) พัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา 5 คนและผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา 150 คน ที่นำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ ไปใช้กับรายวิชาที่รับผิดชอบ ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ผู้สอนที่มีผลงานแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) แบบประเมินรูปแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ แบบประเมินบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้เรียนและผู้สอน โดยใช้กรณีศึกษาในขั้นตอนการทดลองเป็นรายวิชา ส31101 ประวัติศาสตร์สากล1 และหาประสิทธิผลของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 รายวิชาตามที่คณะกรรมการเสนอแนะ รวมทั้งแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนและแบบฝึกหัด โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความเชื่อมั่น ค่าความสอดคล้อง ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน   และค่า t-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ในสภาพแวดล้อมยูบิควิตัสประกอบด้วย ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้บนเครือข่าย (LMS : Learning Management System) ระบบการติดต่อสื่อสาร (Communication)  ระบบเนื้อหาบทเรียน (Content) และระบบการวัดและประเมินผล (Evaluation)  2) การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ ประกอบด้วย ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้บนเครือข่าย ผ่าน Google Site เป็นเครื่องมือเผยแพร่บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ Google Form เป็นเครื่องมือลงทะเบียนสำหรับผู้เรียน และ Google Sheet เป็นเครื่องมือบันทึกฐานข้อมูลของผู้เรียน ระบบการติดต่อสื่อสาร โดยใช้ Google Mail ส่งงานของผู้เรียนและติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับผู้เรียน รวมทั้งใช้ในการเข้าถึงเครื่องมืออื่นๆ ของ Google ทั้งหมดอีกด้วย และ Web Board ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันแบบ Non-Real Time  ระบบเนื้อหาบทเรียน โดยใช้ Google Doc เพื่อนำเสนอเนื้อหาบทเรียนแบบยาว Google Slide เพื่อนำเสนอเนื้อหาบทเรียนแบบย่อ และ YouTube เพื่อนำเสนอสื่อประสมให้กับผู้เรียน และระบบการวัดและประเมินผล โดยใช้ Google Form ทำแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนรวมทั้งแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้เรียน และ Google Sheet เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแต่ละองค์ประกอบทำงานสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันเป็นระบบ จากการประเมินค่าความสอดคล้องของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญเท่ากับ 0.91 นำรูปแบบมาพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ และประเมินค่าความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญเท่ากับ 0.90 นำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ ไปทดลองกับผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีค่าการพัฒนาของคะแนนที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7.93 คะแนน และเมื่อประเมินค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 พบว่าบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ  83.08/85.56 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน (t-test) พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างในรายวิชาอื่นๆ ได้ และ 3) ประสิทธิผลของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ ในกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้จริงใน 5 รายวิชา ใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ผลคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าการพัฒนาของคะแนนที่เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่นำไปใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
[2] สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 – 2554 ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2559.
[3] สุนทรัสส์ เพชรรักษ์คำด้วง. (2559). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. นครศรีธรรมราช : สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
[4] สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2557). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
[5] พรทิพย์ อุดร. (2550). ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD. พระนครศรีอยุธยา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
[6] ไพจิตร สดวกการ. (2543). เรียนผูกเรียนแก้ภูมิปัญญาไทยที่สอดคล้องกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม. ปฏิรูปการศึกษา.
[7] ศุภลักษณ์ ทิพย์วงศา. (2556). การส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยใช้บทเรียน E-Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[8] ภูริตา เบาเนิด. (2555). รูปแบบการเรียนการสอนแบบยูบิควิตัส ตามความต้องการของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 2. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชมงคงธัญบุรี.
[9] ดาววรถา วีระพันธ์. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชั่น. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, ปีที่ 5 (ฉบับที่1), 145-154.
[10] วิจารณ์ พานิช. (2550). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิ สดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
[11] ชายแดง มิ่งเมือง. (2560). ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้โมบายเลิร์นนิ่งด้วยเทคนิคสเปซริพิททิชั่น. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, ปีที่ 4 (ฉบับที่2), 167-176.
[12] กริช กองศรี. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์และการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กรณีศึกษารายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, ปีที่ 4 (ฉบับที่1), 106-112.