มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ Smart University

Main Article Content

satien janpla

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เสนอแนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart University) หรือ วิทยาเขตอัจฉริยะ (Smart Campus) แนวคิดมหาวิทยาลัยอัจฉริยะเกิดมาจากกระบวนทัศน์ของเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities)  ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือ การทำให้เมืองเป็นสถานที่อยู่อาศัยที่ดียิ่งขึ้นในระยะยาว เป็นสถานที่ซึ่งพลเมืองเป็นศูนย์กลาง  จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัย พบว่า มหาวิทยาลัยอัจฉริยะมีการดำเนินการหลายๆ ด้านโดยมีการดำเนินการหลักอยู่ 5 ด้านได้แก่ ด้านคนและการใช้ชีวิตอัจฉริยะ (Smart People & Living) ด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) ด้านพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)  ด้านการเดินทางอัจฉริยะ (Smart Mobility)   ในส่วนของการดำเนินงานมหาวิทยาลัยอัจฉริยะจะช่วยการใช้ชีวิตของคนในมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นบุคลากร อาจารย์และนักศึกษาร่วมไปถึงคนที่พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้สะดวกสบายมากขึ้น การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ลดค่าใช้จ่ายขององค์กร การเฝ้าสังเกตสภาพแวดล้อมเพื่อให้ทราบอุณหภูมิ ความชื้น แสง เสียงรบกวน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นต้น การเดินทางภายในมหาวิทยาลัย การระบุตำแหน่งปัจจุบัน การค้นหาสถานที่ปลายทาง การนำทางสำหรับคนทั่วไปและคนพิการ การขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์ให้ความช่วยเหลือเหตุฉุกเฉิน โดยในปัจจุบันได้มีการผลิตเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น ตัวเซ็นเซอร์ (Sensors) เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ความชื้น แสง แสง เสียงรบกวน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เซ็นเซอร์การใช้พลังงานไฟฟ้า ตัวควบคุมการเปิดปิดไฟฟ้า  บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ได้แก่ Raspberry Pi, Arduino, NodeMCU, Microbit  อุปกรณ์สนับสนุนอื่นๆ เช่น GPS, RFID Tags, Wi-Fi ต้องนำอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้มาสร้างเป็นระบบเพื่อให้ใช้งานสำหรับมหาวิทยาลัยอัจฉริยะด้านต่างๆ และเพื่อให้ใช้งานได้อย่างครอบคลุมจะต้องพัฒนาเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันขึ้นมาใช้งานเพื่อให้สามารถใช้งานกับผู้ใช้ทุกกลุ่มและรองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ(Desktop) คอมพิวเตอร์พกพา (Laptop)  โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile  phone)  ทั้งแอนดรอยด์ (Android) และไอโอเอส (IOS)

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

[1] ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2560). ข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษา
ระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 1–10.
[2] ภิญโญ สายนุ้ย, ศักดา สถาพรวจนา และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2557). การกำหนดนโยบายการศึกษาของประเทศไทยใน
ทศวรรษหน้า. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 5(1), 108–117.
[3] เกรียงชัย รุ่งฟ้าใหม่. (2560). แนวทางการวิเคราะห์วิจัยการบริหารจัดการอุดมศึกษาจากมุมมองของทฤษฎีตัวแทนด้าน สังคมและ
วัฒนธรรม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2), 409–420.
[4] ณตา ทับทิมจรูญ. (2557). การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อคนพิการ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 6(1), 186–197.
[5] วันทนา สวนเศรษฐ และ สุวพัชร์ ช่างพินิจ. (2559). การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาการให้บริการนักศึกษาพิการ ของ
ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ ในระดับอุดมศึกษา. วารสารครุพิบูล, 3(1), 34–48.
[6] นวพรรษ เพชรมณี และ ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2553). Ubiquitous Learning อัจฉริยะแห่งการล่วงรู้บริบท. วารสารวิทยบริการ,
21(1), 23–32.
[7] G. Kbar, M. Abidi, S. Hammad Mian, A. Al-Daraiseh, and W. Mansoor. (2016). A University-Based Smart and
Context Aware Solution for People with Disabilities (USCAS-PWD). Computers, 5(3), 1-38.
[8] ณรงค์ศักดิ์ จายางกูร. (2557). กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ด้วยเว็บโอเมตริกซ์. วารสารเทคโนโลยี
สารสนเทศ, 10(1), 64–72.
[9] ชัยวัฒน์ น่าชม. (2557). Webometrics เพื่อการจัดอันดับเว็บมหาวิทยาลัย. PULINET J., 1(3), 71–78.
[10] นลินทิพย์ พิมพ์กลัด, สมศักดิ์ จีวัฒนา และ ทิพวัลย์ แสนคำ. (2561). แนวทางการจัดการระบบสารสนเทศงานวิชาการ เพื่อ
รองรับการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. รายงานสืบเนืองจากการประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการ
ระดับชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561,371–380.
[11] T. G. Stavropoulos, G. Koutitas, D. Vrakas, E. Kontopoulos, and I. Vlahavas. (2016). A smart university platform
for building energy monitoring and savings. J. Ambient Intell. Smart Environ, 8(3), 301–323.
[12] M. Alvarez-Campana, G. López, E. Vázquez, V. A. Villagrá, and J. Berrocal. (2017). Smart CEI moncloa: An iot-
based platform for people flow and environmental monitoring on a Smart University Campus. Sensors
(Switzerland), 17(12).
[13] B. Mattoni et al. (2016). A matrix approach to identify and choose efficient strategies to develop the Smart
Campus. EEEIC 2016 - Int. Conf. Environ. Electr. Eng.