การสังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ โดยใช้เทคนิคอีดีเอฟอาร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ โดยใช้เทคนิคอีดีเอฟอาร์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด แบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิคอีดีเอฟอาร์ รอบที่ 1 2) แบบสอบถามแนวโน้มองค์ประกอบการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัฟ รอบที่ 2 และ 3) แบบสอบถามแนวโน้มองค์ประกอบการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ รอบที่ 3 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทร์ที่ 3 และ 1
ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาองค์ประกอบการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ความสำคัญของนโยบายการจัดการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษาด้านเท็คสตาร์ทอัพ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ และ 3) คุณลักษณะของกิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ โดยผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติ ที่ค่ามัธยฐานอยู่ระหว่าง 2-5 และมีค่าพิสัยควอร์ไทล์ อยู่ระหว่าง 0-1 2) องค์ประกอบของการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) นโยบายการจัดการศึกษา 3 ด้าน คือ ด้านยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ด้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) และด้านการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2) องค์ประกอบของการพัฒนาคู่มือการพัฒนานักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านหลักการ ทฤษฎี ด้านการพัฒนาคู่มือการพัฒนานักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อม ด้านเท็คสตาร์ทอัพ ด้านขั้นตอนการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อม ด้านเท็คสตาร์ทอัพ ด้านสิ่งสนับสนุนการอบรม และด้านกิจกรรมการอบรม และ 3) คุณลักษณะของคู่มือการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาและ ด้านคุณลักษณะของผู้เรียน 3) ขั้นตอนการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นที่ 1 สร้างแรงบันดาลใจ 2) ขั้นที่ 2 ศึกษาปัญหาและสร้างแนวคิด 3) ขั้นที่ 3 สร้างทีมงาน 4) ขั้นที่ 4 สร้างแนวคิดธุรกิจใหม่ และ 5) ขั้นที่ 5 นำเสนอธุรกิจใหม่
Article Details
References
ประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3,มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
[2] ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี (2559). 9 Startups ปฎิวัติแนวคิดพลิกธุรกิจสตาร์ทอัพ.ออนไลน์ :
lib.ku.ac.th/web/index.php/th/2012-10-18-07-22-55/4580-9-startups (26 พฤษภาคม 2560)
[3] ภาสกร เรืองรอง. (2560).การวิจัยเชิงอนาคต.ออนไลน์ : https://www.gotoknow.org ›
(26 พฤษภาคม 2560)
[4] ศิคริษฐ์ คุณชมภู, วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราษฎร์. (2561). การศึกษาแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิค EDFR. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและ
นวัตกรรม, 5(1), 50-60.
[5] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2549). การปฏิรูปการเรียนรู้โดยอาศัยคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ. [6] วรากร หงษ์โต. (2553). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้
กระบวนการสร้างความรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.