ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียน ในจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียนในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 19 แห่ง โดยใช้ตัวแบบ Data Envelopment Analysis: DEA ในการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า สหกรณ์เครดิตยูเนียนทั้งสามขนาดคือ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสหกรณ์เครดิตยูเนียน ขนาดใหญ่มาก มีระดับประสิทธิภาพมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.48 ส่วนขนาดใหญ่มีระดับประสิทธิภาพมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39.39 และสหกรณ์เครดิตยูเนียนขนาดกลาง มีระดับประสิทธิภาพมากที่สุด ถึงร้อยละ 75 โดยมีค่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ย VRS อยู่ในระดับมาก คือ 0.7511  เมื่อพิจารณาผลตอบแทนต่อขนาดการดำเนินงานภายใต้ข้อสมมุติ VRS พบว่า ผลตอบแทนต่อขนาดของสหกรณ์เครดิตยูเนียนส่วนใหญ่เป็นผลตอบแทนต่อขนาดของการดำเนินงานที่ลดลง (Decreasing Return to Scale : DRS) รวมทุกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยมีจำนวนถึง 48 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75 แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยการผลิต(Input) ของสหกรณ์เครดิตยูเนียน เมื่อนำเข้ามาในสัดส่วนหนึ่งแล้วก่อให้เกิดผลผลิต (Output)  ออกมาในสัดส่วน
ที่น้อยกว่า หรืออาจกล่าวได้ว่าผลได้ต่อขนาดลดลงนั่นเอง  ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียน ใช้วิธีการทางเศรษฐมิติที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ กับระดับความมีประสิทธิภาพคือ แบบจำลองโพรบิตแบบเรียงลำดับ (Ordered Probit Model) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียน คือ ปัจจัยด้านการจัดสรรผลประโยชน์และสวัสดิการแก่สมาชิก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กิตติชัย นวลทอง. (2551). บุพปัจจัยและผลลัพธ์ของการแปรสภาพกองทุนหมู่บ้านเป็นสถาบันการเงินชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ.
[2] ยูนูส, มูฮัมหมัด. (2555). สร้างโลกไร้จน. [Creating a World Without Poverty] (สฤณี อาชวานันทกุล, ผู้แปล) กรุงเทพฯ: มติชน.
[3] สุรชัย กังวล. (2552). การบริหารจัดการที่เหมาะสมของสถาบันการเงินชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัย
แม่โจ้, เชียงใหม่.
[4] Haq, Mamiza, Skully, Michael T. & Pathan, Shams. (2009). Efficiency of Microfinance Institution: A Data Envelopment Analysis. Asia-Pacific Financial Markets, 1-39
[5] Hassan,M.K & Sanchez, B. (2009). Efficiency analysis of Microfinance Institution in developing Countries. Network Financial Institute. WP-12. Retrieved from https://ssrn.com/abstract=1492238
[6] Triki M, W. (2013). The efficiency scores of Microfinance Institution in Africa and MENA region. Researchjournali’s Journal of Finance, 1(1), 1-17.
[7] Tahir, I.M & Tahrim S, N.C. (2013). Efficiency analysis of Microfinance Institution in ASEAN: A DEA approach. Business Management Dynamics, 3(4), 13-23.
[8] สมคิด แก้วทิพย์. (2555). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของสหกรณ์การเกษตรในภาคเหนือ (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
[9] อารีย์ เชื้อเมืองพาน และคณะ. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
[10] กานต์ ลี่วัฒนายิ่งยง. (2552). สถิติวิศวกรรม. พิษณุโลก: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[11] กฤษฎ์ เพ็ชรประดับ. (2553). การวัดประสิทธิภาพต้นทุนของสหกรณ์เครดิตยูเนียนในภาคใต้ของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[12] Charnes A., Cooper, W.W & Rhodes, E. (1978) Measuring the efficiency of the decision-making units. European Journal of Operational Research, 2, 429-444.
[13] อุรพร เงยวิจิตร. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของสหกรณ์การเกษตร ในเขตภาคเหนือตอนบน. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.