การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อติดตามและดูแลควบคุมภาวะทุพโภชนาการ ในเด็กวัยเรียน กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านมะโบ่ ตำบลลานสะแก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ทิพวิมล ชมภูคำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อติดตามและดูแลควบคุมภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน 2) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อติดตามและดูแลควบคุมภาวะ
ทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน 3) ประเมินคุณภาพระบบสารสนเทศ และ 4) ศึกษาการยอมรับของผู้ใช้งานระบบที่มีต่อระบบสารสนเทศ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ใช้งานระบบ จำนวน 20 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่
1) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับองค์ประกอบที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบ 2) แบบประเมินคุณภาพระบบสารสนเทศ 3) แบบวัดการยอมรับระบบสารสนเทศ 4) ระบบสารสนเทศเพื่อติดตามและดูแลควบคุมภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อติดตามและดูแลควบคุมภาวะ
ทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน รวมทั้งหมด 6 โมดูล ประกอบด้วย 1.1) Communication Module
1.2) Authentication Module 1.3) Member Module 1.4) Student Module 1.5) Malnutrition Module 1.6) Management Module 2) ระบบสารสนเทศติดตามและดูแลควบคุมภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียนที่พัฒนาขึ้น มีระบบด้านผู้ใช้งาน 3 ประเภท ได้แก่ บุคคลทั่วไป ผู้บริหาร บุคลากรหรือผู้ดูแล 3) ผลการประเมินคุณภาพระบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผู้ใช้ระบบยอมรับระบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย. (2559). การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[2] กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักโภชนาการ. (2558). คู่มือ แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ ในคลินิกสุขภาพเด็กดี. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[3] สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 1(1), 1-23.
[4] ปราโมทย์ ลือนาม. (2554). แนวความคิดและวิวัฒนาการของแบบจำลองการยอมรับการใช้เทคโนโลยี, วารสารการจัดการ
สมัยใหม่, 9(1), 9–17.

[5] วีรวัลย์ ศิรินาม. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลบ้างกลาง อำเภอ
สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[6] สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, อาภาวรรณ หนูคง, ณัฐธิรา ไกรมงคล, และ รุ่งรดี พุฒิเสถียร. (2560). การนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการ
ไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารสภาการพยาบาล, 32(4), 120–133.
[7] วรปภา อารีราษฎร, ธรัช อารีราษฎร์, เผด็จ พรหมสาขา ณ สกลนคร, นิรุติ ไล้รักษา และบดินทร์ แก้วบ้านดอน. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประชุมวิชาการ สำหรับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 2(2), 29–38.
[8] ศรีวิไล นิราราช, วรปภา อารีราษฎร และบดินทร์ แก้วบ้านดอน. (2559). การพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศการประกัน
คุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3(1), 26–34.
[9] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2548). การพัฒนารูปแบบกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้โดยอาศัยคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.