การประเมินผลระบบสารสนเทศการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กรณีศึกษา คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ 2) ศึกษาความพึงพอใจระบบสารสนเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในคณะการบัญชีและ การจัดการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมภาษา PHP ฐานข้อมูล mySQL และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาระบบสารสนเทศการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะการบัญชีและ
การจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า มีองค์ประกอบที่ครบถ้วน ได้แก่ ระบบลงทะเบียน ระบบค้นหาสถานที่ฝึกงาน ระบบขออนุมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ระบบพิมพ์แบบฟอร์มขออนุมัติ และระบบตรวจสอบสถานะ การออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งเรียกว่าระบบดังกล่าวว่า Internship Information System (InIS) และ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจระบบระบบสารสนเทศการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (InIS) ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 227 คน พบว่า ผู้ใช้ระบบมีระดับความพึงพอใจด้านการใช้งานระบบ อยู่ในระดับมาก และด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับมากเช่นกัน ทั้งนี้งานวิจัยที่พัฒนาขึ้นนี้ทำให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน นิสิตผู้ใช้บริการ อาจารย์ที่ปรึกษา รวมทั้งผู้บริหาร ได้ใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลโดยรวมต่อกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น
Article Details
References
[2] KKU, (2019). Internship system and cooperative education Faculty of Engineering Kasetsart University Bang Khen Campus. (In Thai). Available from: https://wt.eng.ku.ac.th/wt/
[3] Suwinai, A. (2010). internship system of Technology Mahanakorn University. (In Thai). Thesis of Technology Mahanakorn University, Thailand.
[4] Yang, S. C., & Liu, S. F. (2004). Case study of online workshop for the professional development of teachers. Computers in Human Behavior, 20, 733-761.