รูปแบบบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข แบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

กัญญารัตน์ นามวิเศษ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขแบบมีส่วนร่วม 2) การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขแบบมีส่วนร่วม            3) ทดลองใช้คู่มือการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขแบบมีส่วนร่วม และ
4) เผยแพร่คู่มือการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองดู่ดอนเปือย ภาคีเครือข่าย และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือ แบบประเมิน แบบวัดทัศนคติ และแบบสอบถามการยอมรับคู่มือ  สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขแบบมีส่วนร่วม มีองค์ประกอบ 7 ส่วน ได้แก่ นโยบายภาครัฐ  กระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว หลักการทฤษฎี  กรอบสถานศึกษาสีขาว ตัวชี้วัดความสำเร็จ  ผู้มีส่วนร่วม และปัจจัยสู่ความสำเร็จ  โดยใช้กระบวนการ 4 ขั้น คือ   ขั้นวางแผน  ขั้นปฏิบัติ  ขั้นตรวจสอบ  และขั้นสะท้อนผล  ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด  2) คู่มือการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว มีองค์ประกอบ 7 ตอน ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของคู่มืออยู่ในระดับมากที่สุด  3) ทัศนคติด้านการรับรู้ต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด  ทัศนคติด้านการปฏิบัติตาม   การบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวอยู่ในระดับมากที่สุด  และผลการประเมินห้องเรียนสีขาวอยู่ในระดับมากที่สุด  4) การยอมรับคู่มือการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขแบบอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักยุทธศาสตร์และสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2541). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558-2562. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข พ.ศ.2559. สำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.
[3] สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2539). สรุปการดำเนินการด้านการป้องกันยาเสพติด. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[4] กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[5] ถนัด เดชทรัพย์. (2550). การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ตามหลักธรรมาธิบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
[6] สมบูรณ์ อำพนพนารัตน์. (2542). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันไฟป่า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[7] จินตนา ศิริวัฒนโชค. (2557). วงจร PDCA. สืบค้นจาก http://203.172.179.44/skpp/file.php/1/PDCA/PDCA_mean.doc
[8] โตมร โอริส, และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560). การบริหารจัดการเพื่อป้องกันยาเสพติดของกองทัพบกตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 7(3), 102-107.
[9] คำผล สุพร. (2559). ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
[10] สุริยันต์ เสรีเรืองยุทธ. (2551). การศึกษากระบวนการบริหารเพื่อป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, สุรินทร์.