การประยุกต์ใช้ Social Media เพื่อส่งเสริมการอบรม ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู TM-PLC
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมครูโดยการประยุกต์ใช้ ฆSocial Media 2) พัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมครูโดยการประยุกต์ใช้ Social Media และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้สื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมครูโดยการประยุกต์ใช้ Social Media กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนที่สนใจเข้ารับการอบรมในหลักสูตรการพัฒนาครูของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน พ.ศ. 2561 คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 200 คน โดยเป็นครูที่รายงานตัวเข้ารับการอบรมหลักสูตรอบรมของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน จำนวน 3 รุ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ สื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมครู แบบรูปภาพ และสื่อวิดีโอ และสถิติที่ใช้ในงานวิจัยคือ สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาแนวทางการประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมครูโดยการประยุกต์ใช้ Social Media พบว่า แนวทางการประชาสัมพันธ์หลักสูตร “ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู TM-PLC” ประกอบ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักสูตรการอบรม จำนวน 2 หลักสูตร ส่วนที่ 2 สื่อประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วยสื่อแบบรูปภาพ และ สื่อวิดีโอแบบ ส่วนที่ 3 กระบวนการประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การกำหนดเป้าหมาย การออกแบบและพัฒนาสื่อ และวิธีการประชาสัมพันธ์ ส่วนที่ 4 ช่องทางการสื่อสารบน Social Media ประกอบด้วย 2 ช่องทาง คือ face book และ line และส่วนที่ 5 ตัวชี้วัด จำนวน 5 ตัว โดยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของแนวทาง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด 2) ผลการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมครูโดยการประยุกต์ใช้ Social Media พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ3) ผลการทดลองใช้สื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมครูโดยการประยุกต์ใช้ Social Media พบว่า ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์และการรับรู้การประชาสัมพันธ์จากสื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมครูโดยการประยุกต์ใช้ Social Media โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
[2] เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2556). Social Media สื่อสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. วารสาร Veridian E-Journal, 6(1), 72-81.
[3] Williamson, A. (2013). Social Media Guidelines for Parliaments. Retrieved from: http://www.ipu.org/PDF/publications/SMG2013EN.pdf
[4] ทัศนีย์ ผลชานิโก. (2560). การประชาสัมพันธ์ (Public Relations). สืบค้นจาก http://www.prd.go.th/ewt_dl_link.php ?nid=124414
[5] วิยะดา ฐิติมัชฌิมา. (2553). เครือข่ายสังคมออนไลน์: แนวโน้ม ปรากฏการณ์ และจริยธรรม. วารสารนักบริหาร, 30(4), 150-156.
[6] จักรกริช ปิยะ. (2557). การศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อการบริหารงานก่อสร้าง กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทคโนบิวเดอร์ (2001) อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
[7] สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ศักยภาพสื่อประชาสัมพันธ์ในยุคสังคมออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.addkutec3.com
[8] อภิชัจ พุกสวัสดิ์ และกุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2556). การประชาสัมพันธ์ภายใต้กระแสสื่อสังคมออนไลน์. วารสารการประชาสัมพันธ์และโฆษณา, 6(2), 24-38.