ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานการนิเทศภายในของสถานศึกษา ในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการนิเทศภายในสถานศึกษา 2) ศึกษาการดำเนินงานการนิเทศภายในสถานศึกษา และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการนิเทศภายในของสถานศึกษาในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 120 คน และครูผู้สอน จำนวน 215 คน รวม 335 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.321 ถึง 0.895 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานการนิเทศภายในของสถานศึกษา ในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานการนิเทศภายในของสถานศึกษา ในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ3) ปัจจัยด้านการบริหาร ปัจจัยด้านโครงสร้าง ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านทรัพยากร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดำเนินงานการนิเทศภายใน อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ .01 ทุกตัวแปร และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานการนิเทศภายในของสถานศึกษาในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ดีที่สุด คือ ปัจจัยด้านบุคลากร (X3) ปัจจัยด้านกระบวนการ (X4) ปัจจัยด้านทรัพยากร (X5) และปัจจัยด้านการบริหาร (X1) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในรูปคะแนนดิบเท่ากับ .291 .244 .138 และ .150 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์ในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ .339 .260 .162 และ .172 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .822 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความสามารถในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 67.10 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานเท่ากับ .2661 และค่าคงที่ของสมการในรูปคะแนนดิบเท่ากับ .643 โดยเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
สมการในรูปคะแนนดิบ
= .643 + .291 X3 + .244 X4 + .138 X5 + .150 X1
สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน
Y = .339 ZX3 + .260 ZX4 + .162 ZX5 + .172 ZX1
Article Details
References
[2] สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2556). โลกเปลี่ยนไทยปรับ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.
[3] ธัชชัย จิตรนันท์. (2558). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาติ การพิมพ์.
[4] กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[5] สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน). (2550). มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานการพิจารณาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบที่ 2 (พ.ศ.2549-2553). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[6] Rue, Leslie W. & L. Byars, Loyd L. (2007). Management: Skill and Application. (13th ed.). Boston Mass: McGraw-Hill.
[7] กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลระบบบริหารและจัดการศึกษา. (2557). คู่มือการนิเทศภายใน. มหาสารคาม: สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26.
[8] ณฐมนวรรณ ศิริสุขชัยวุฒิ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับ การรับรองมาตรฐานการศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. กรุงเทพฯ: เคมบริดจ์ เอ็ดยูเคชัน.
[9] อภิชัย ธิณทัพ. (2555). แนวทางการนิเทศภายในโรงเรียน. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/200728
[10] ณิชมน ต่ายจันทร์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.
[11] วัชรากร โพธิพฤกษ์. (2554). ปัจจัยที่สมัพันธ์กับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
[12] วรรษวรรณ บันลือฤทธิ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพฯ.