การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนปฏิบัติการของผู้บริหารในสังกัดเทศบาลตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ทิพวัลย์ แสนคำ
สมศักดิ์ จีวัฒนา
นลินทิพย์ พิมพ์กลัด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของผู้บริหารในสังกัดเทศบาลตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2) พัฒนาและประเมินประสิทธิผลของระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนปฏิบัติการของผู้บริหารในสังกัดเทศบาลตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์  ขั้นตอนการวิจัย ผู้วิจัยใช้กระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศตามทฤษฎีเอสดีแอลซี  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้   ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารจากเทศบาลตำบลบ้านด่าน จำนวน 5 คน  และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศ ได้แก่ ผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ได้แก่  PHP, Edit Plus และใช้ระบบฐานข้อมูล MySQL ในการจัดเก็บข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของผู้บริหารในสังกัดเทศบาลตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ มีระบบอินเทอร์เน็ตใช้งาน ใช้ฐานข้อมูล MySQL และซอฟต์แวร์ประเภท Open Source ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่าย  การพัฒนาระบบฐานข้อมูลจากการวิเคราะห์และออกแบบประกอบด้วยเอนทิตี้ ได้แก่ ฝ่ายงาน ผู้ใช้ ยุทธศาสตร์ โครงการ  ตัวชี้วัด  และผู้รับผิดชอบที่ทำการสืบค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้  ส่วนการประเมินประสิทธิผลของระบบผู้ใช้ต่อระบบสารสนเทศด้านการใช้งาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและมากกว่าด้านอื่น ๆ โดยความรวดเร็วในการแสดงผลลัพธ์  การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละบทบาทมีความเหมาะสม และความรวดเร็วในการเลือกและยืนยันข้อมูล  มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านด่าน. (2559). แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (2561-2564). บุรีรัมย์: ผู้แต่ง.
[2] กาญจนา ชิดทอง. (2553). ประสิทธิผลของระบบสารสนเทศ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[3] ธัณฐภรณ์ เมธีวริศวงศ์. (2553). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[4] วรปภา อารีราษฎร์, ธรัช อารีราษฎร์, เผด็จ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประชุมวิชาการสำหรับ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 1 (น. 189-196). มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[5] Hunsinger, D., Smithn & Scott, Michael A. (2008). Factors that Influence Information Systems Undergraduates to Pursue IT Certification. Journal of Information Technology Education, 7, 255-273.
[6] ทิพวัลย์ แสนคำ. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำของผู้บริหารสารสนเทศที่มีต่อประสิทธิผลของระบบสารสนเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
[7] ชาติ ภูดินทราย, วรปภา อารีราษฎร์, และธรัช อารีราษฎร์. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานบริการการศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 (น. 85-92). มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[8] บุญเกื้อ ครุธคำ. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
[9] สมศักดิ์ จีวัฒนา, และชลิตา ภัทรศรีจิรากุล. (2557). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลผ้าไหมทอมือของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
[10] ศรีวิไล นิราราช, วรปภา อารีราษฎร์, และบดินทร์ แก้วบ้านดอน. (2559). การพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 (น. 200-207). มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[11] ทิพวัลย์ แสนคำ, สมศักดิ์ จีวัฒนา, และนลินทิพย์ พิมพ์กลัด. (2561). การพัฒนาเว็บไซต์ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(2), 142-150.