การสังเคราะห์องค์ประกอบของคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ โดยใช้เทคนิค EDFR

Main Article Content

สมัย สลักศิลป์
วรปภา อารีราษฎร์
ธรัช อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชน    การเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ โดยใช้เทคนิค EDFR กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด แบบเฉพาะเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิค EDFR รอบที่ 1  2) แบบสอบถามแนวโน้มการพัฒนาคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ โดยใช้เทคนิค EDFR รอบที่ 2 และ 3) แบบสอบถามแนวโน้ม      การแนวโน้มการพัฒนาคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ โดยใช้เทคนิค EDFR รอบที่ 3 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย พบว่า แนวโน้มการพัฒนาคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ มีผลแยกตามแต่ละด้านดังนี้  1) ด้านลักษณะของผลงานที่ส่งเข้าคัดเลือกของครูผู้สอน 2) องค์ประกอบของระบบการบริหารจัดการส่งผลงานเข้าคัดเลือก 3) การพิจารณาผลงานและการตัดสินการคัดเลือกผลงาน 4)    การพิจารณาวิธีการประเมิน และคะแนนการคัดเลือกผลงาน และ 5) การกำหนดคะแนนการประเมินผลงาน ผู้วิจัยนำข้อมูลที่เลือก จำนวน 144 ข้อ จากคุณลักษณะทั้ง 5 ด้าน มาออกแบบงาน จำนวน 3 งาน ได้แก่ 1) องค์ประกอบของคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์  ประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 กลุ่ม คือ ครูผู้ส่งผลงาน ผู้ดูแลระบบ และกรรมการประเมินผลงาน 2) โมดูลระบบการบริหารจัดการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ ประกอบด้วย 7 โมดูล ได้แก่ 2.1 ผู้ดูแลระบบ/คณะทำงาน/เจ้าหน้าที่  2.2 ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ 2.3 โมดูลการสื่อสาร/เชื่อมโยง 2.4 สมาชิก/ผู้ส่งผลงาน 2.5 ผลงานของครู 2.6 กรรมการประเมินผลงาน และ 2.7 เกณฑ์การประเมินหรือคัดเลือกผลงาน และ 3) จอภาพของระบบการบริหารจัดการประเมินการปฏิบัติที่ดี  ประกอบไปด้วย  5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนหัวเป็นองค์ประกอบ ที่แสดงข้อมูล/ภาพ/โลโก้ หน่วยงาน/ชุมชน  และ รายการเมนูของระบบ ส่วนที่ 2 ส่วนเมนู เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการส่งผลงานเพื่อการคัดเลือกของครู เอกสาร และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 3 ส่วนแสดงรายละเอียด (Content) ของระบบตามเมนูที่เหลือก ส่วนที่ 4 ส่วนการลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ และ รายการลิงค์เชื่อมโยง องค์กร หน่วยงาน และ ส่วนที่ 5 ส่วนท้าย แสดงข้อมูลการพัฒนาระบบ/ติดต่อระบบ และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อการออกแบบองค์ประกอบของระบบการบริหารจัดการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ พบว่า โดยรวมการออกแบบระบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุดตามลำดับ 3 ด้านคือ 1) องค์ประกอบของระบบบริหารจัดการ 7 โมดูล  2) ความเหมาะสมของการออกแบบองค์ประกอบ 5 ส่วน 3) ความเหมาะสมของคู่มือการส่งผลงานของครูผู้สอน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Darling-Hammond Linda, L. (1999). Teacher quality and student achievement : A review Of state policy evidence. Retrieved from http://www.politicalscience.uncc.edu/godwink/PPOL8687/ WK11March%2029%20Teachers/DarlingHammond%20Review%20essay%20on%20teacher%20quality%20and%20outcomes.pdf.
[2] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[3] สิวรี พิศุทธิ์สินธพ. (2553). รูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก. วารสารศึกษาศาสตร์, 22(2), 115-127.
[4] Kruse, S.D., Louis, K.S., & Bryk, A. (1995). An emerging framework for analyzing School based professional community. In Professionalalism and Community: Perspectives on Reforming Urban Schools (pp. 23-42). CA.: Corwin Press.
[5] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[6] วรากร หงษ์โต. (2553). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้กระบวนการสร้างความรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรมการ เรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
[7] ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2548). เอกสารคำสอน Reusable Learning Object. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[8] เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2558). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.
[9] ณัฐทิภรณ์ ดัสกรณ์. (2556). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนด้วยเทคนิค EDFR ของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[10] ศิคริษฐ์ คุณชมภู, วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราษฎร์. (2560). การศึกษาแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิค EDFR. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(1), 16-26.
[11] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2549). การพัฒนารูปแบบกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้โดยอาศัยคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.