รูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการท่องเที่ยว 7s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

วรปภา อารีราษฎร์
ธรัช อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์ตาม          แนวทางการจัดการท่องเที่ยว 7s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม และ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการท่องเที่ยว 7s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการท่องเที่ยว 7s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม


            ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) เทคโนโลยีดิจิทัล 1.2) ผู้มีส่วนร่วม 1.3) กระบวนการจัดการตามกรอบของแมคคินซีย์ (7s McKinsey) และ 1.4) การกำหนดแผนการดำเนินงานที่เหมาะสม และ 2) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการท่องเที่ยว 7s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
อารีราษฎร์ ว., & อารีราษฎร์ ธ. (2019). รูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการท่องเที่ยว 7s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 137–146. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/199470
บท
บทความวิจัย

References

[1] กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2556). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาการเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
[2] เปรมจิต พรหมสาระเมธี. (2553). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับนักท่องเที่ยวนานาชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[3] กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[4] ธัมมามนตร์ คุณรัตนาภรณ์. (2556). อิทธิพลของส่วนประสมการตลาด และภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีต่อความภักดีในบริการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
[5] สยมล วิทยาธนรัตนา. (2554). อนาคตของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตอนที่ 1. วารสาร e-TAT Tourism Journal, 4(2554), สืบค้นจาก http://www.etatjournal.com/mobile/index.php/menu-read-tat/menu-2011/menu-2011-oct-dec/66-42554-technology-tourism
[6] พระมหาประกาศิต สิริเมโธ (ฐิติปสิทธิกร). (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
[7] ธัญญาศิริ ระวิวรรณ, ลินจง โพชารี, และ โอชัญญา บัวธรรม. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนและความพร้อมของ แหล่งท่องเที่ยวภูหินลาดช่อฟ้า จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, (ฉบับพิเศษ), 241-248.
[8] จันทิมา เพชรพิเศษศักดิ์. (2555). แนวทางการพัฒนาชุมชนชาวกูยบ้านอาลึ ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
[9] นิยพรรณ (ผลวัฒนะ) วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[10] มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการทรัพยากร การท่องเที่ยว. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
[11] น้ำทิพย์ จุลละนันท์. (2558). ประเพณีแห่นาคโหดกับบทบาทด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาสังคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.
[12] ศิคริษฐ์ คุณชมภู, วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราษฎร์. (2560). การศึกษาแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิค EDFR. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(1), 16-26.
[13] อัมพิกา อภิชัยบุคคล. (ม.ป.ป.). การวิเคราะห์องค์กรโดยใช้หลักการ 7-S. สืบค้นจาก www.oap.go.th/images/ documents/resources/articles/general/หลักการ-7S.pdf