การพัฒนาระบบเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแหล่งน้ำสาธารณะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาระบบเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแหล่งน้ำสาธารณะ และการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ การทำงานระบบจะทำการวัดปริมาณออกซิเจนละลายน้ำและค่าอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งเป็นดัชนีที่สำคัญสำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยระบบจะส่งข้อมูลจากการวัดค่าพารามิเตอร์ทั้งสองผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ที่เชื่อมต่อกับราสเบอร์รี พาย ไปเก็บยังฐานข้อมูลที่คอมพิวเตอร์แม่ข่าย การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยติดตั้งระบบเผ้าระวังคุณภาพน้ำ ณ แม่น้ำสาธารณะ ทำการวัดและเก็บข้อมูลทุก ๆ 60 นาที โดยเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง
ผลการวิจัยพบว่า ระบบเฝ้าระวังปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ สามารถวัดปริมาณออกซิเจนละลายและอุณหภูมิของน้ำได้ ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบสามารถวัดและเก็บผลของการวัด และสามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน พบว่า ระบบสามารถเก็บข้อมูลสำหรับเป็นดัชนีตรวจวัดคุณภาพน้ำได้เป็นอย่างดี
Article Details
References
[2] ชนิศนันท์ สุงาม, และอัจจนา วงศ์ชัยสุวัฒน์. (2550). เซ็นเซอร์สำหรับวัดออกซิเจนที่ละลายน้ำได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8(1), 32-39.
[3] กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กรมควบคุมมลพิษ และสิ่งแวดล้อม. (2560). มาตรฐานคุณภาพน้ำ. สืบค้นจาก http://www.pcd.go.th
[4] สุภนัย กระจายศรี, ศณัฐขะพล อัตตวนิช, และกฤษฎา กลีบจำปา. (2557). ระบบตรวจวัดอุณหภูมิอัตโนมัติโดยผ่านเครือข่าย xbee โดยมีแหล่งจ่ายเป็นโซล่าเซลล์. นครราชสีมา: สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
[5] วรปภา อารีราษฎร์, อภิชาติ เหล็กดี, และธเนศ ยืนสุข. (2558). ผลการพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมด้วยภาษาซี โดย
ใช้เรสพ์เบอรรี่ไพ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 2(2), 64-71.
[6] ธานิล ม่วงพูล, และอวยไชย อินทรสมบัติ. (2560). การพัฒนาระบบระบายความร้อนด้วยท่อทำความเย็นแบบท่อทองแดงร่วมกับไมโครคอนโทรลเลอร์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(2), 47-56.
[7] พัทธนันท์ ตาต๊ะ, อดิศักดิ์ แก้วบัวดี, อวยไชย อินทรสมบัติ, และธานิล ม่วงพูล. (2560). การพัฒนาระบบควบคุมกลอนประตูด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ร่วมกับเทคโนโลยคลาวด์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 11, (น.565-571). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
[8] Vernier Software & Technology. (2560). Vernier Arduino Interface Shield. สืบค้นจาก
https://www.vernier.com/products/interfaces/bt-ard/
[9] SparkFun Electronics US. (2560). Microcontroller ATmega328. สืบค้นจาก https://www.sparkfun.com