นวัตกรรมกระบวนการพัฒนาทักษะกลุ่มแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าโรงงานสู่การเป็นช่างฝีมือตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองสถานประกอบการในชุมชน จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

วรปภา อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของกลุ่มแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองสถานประกอบการในชุมชน และ 2) สังเคราะห์รูปแบบการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองกลุ่มแรงงานสถานประกอบการชุมชนตำบลท่าตูม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นเจ้าของกิจการ หรือสถานประกอบการ และแม่บ้านรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า ตำบลท่าตูม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และนักวิชาการศึกษา จำนวน 5 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การศึกษาบริบทของกลุ่มแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองสถานประกอบการในชุมชน และการสังเคราะห์รูปแบบการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองกลุ่มแรงงานสถานประกอบการชุมชนตำบลท่าตูม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบ และสถิติที่ใช้เป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย 1) ผลการศึกษาบริบทของกลุ่มแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองสถานประกอบการในชุมชน พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยการสัมภาษณ์ พบว่า 1.1) บริบทของชุมชนท่าตูม เป็นชุมชนหนึ่งในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ที่มีพื้นที่ครอบคลุม 10 หมู่บ้าน มีประชากร 1,149 หลังคาเรือน และมีประชากร 4,903 คน ทำเลและที่ตั้งของพื้นที่ในชุมชน อยู่บนพื้นที่บริเวณด้านหน้าเขื่อนขนาดเล็ก หรือฝายกั้นน้ำวังยาง อาชีพของชุมชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทำนาในพื้นที่ของตนเองที่นำมาหล่อเลี้ยงชีวิตของครอบครัว 1.2) สภาพการตัดเย็บเสื้อผ้าของกลุ่มชาวบ้าน กลุ่มผู้หญิงหรือสตรีช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มแม่บ้านในชุมชนจะรับผ้าจากโรงงานหรือ     “ผ้าโหล” เป็นผ้าที่โรงงานตัดส่งให้กับร้านค้าที่สั่งทำตามใบสั่ง (Order) โดยการรับส่งเสื้อผ้าโรงงานเป็นบางกลุ่มหรือบางคน ซึ่งเป็นรายได้ที่เป็นอาชีพเสริมจากการทำนาของชุมชนท่าตูม 1.3) การประกอบอาชีพเสริมของชุมชนท่าตูม ในชุมชนยังมีร้านตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมือง ในแต่ละหมู่บ้านประจำในแต่ละหมู่บ้าน ประมาณ 1-3 ร้าน ที่เป็นร้านตัดเสื้อผ้าพื้นเมืองให้กับลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนทั่วไป 1.4) ความสำคัญของเสื้อผ้าพื้นเมือง เป็นเสื้อผ้าที่นิยมของชุมชนพื้นที่จังหวัดในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่จังหวัดภาคอีสาน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้นำชุมชนและชาวบ้าน และ 1.5) ความต้องการของกลุ่มผู้หญิงหรือสตรีในชุมชนเพื่อการพัฒนาตนเอง เพื่อยกระดับรายได้จากการประกอบอาชีพหรืองานที่ทำอยู่แล้วให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การพัฒนาอาชีพ ฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพมาตรฐาน และ 2) ผลการสังเคราะห์รูปแบบการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองกลุ่มแรงงานสถานประกอบการชุมชนตำบลท่าตูม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า รูปแบบเป็นองค์ประกอบ     ที่แสดงความสัมพันธ์ของหลักการแนวคิด การอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองกลุ่มแรงงาน         ตามบริบทของชุมชนและสถานประกอบการแบบมีส่วนร่วม 3 หน่วยงาน คือ หน่วยงานภาครัฐ ชุมชนกลุ่มแม่บ้าน     และสถานประกอบการ ทั้ง 3 หน่วยงาน ร่วมกำหนดเป้าหมายการพัฒนา ร่วมพัฒนาและตรวจสอบผลงาน และร่วมแบ่งปันกระจายการทำงาน ที่มีองค์ประกอบของหลักการแนวคิดการพัฒนาสมรรถนะฝีมือแรงงานแบบมีส่วนร่วม และการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองกลุ่มแรงงานสถานประกอบการในชุมชน และความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). นโยบายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สืบค้นจาก http://www.hpd-m.org/knowledge-01/
[2] ธรัช อารีราษฎร์ และวรปภา อารีราษฎร์. (2559). ผลการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 63-77.
[3] จิตตมาศ จิระสถิตย์พร และวัชระ สินธุประมา. (2561). จักรเย็บผ้า: การตัดเย็บสมัยใหม่ในการศึกษาของผู้หญิงไทย. วารสารราชพฤกษ์, 16(2), 69-78.
[4] บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[5] Meyes, Michelle Annette, et al. (2018). Participatory action research: tools for disaster resilience education. International Journal of Disaster Resilience in the Built Environment, 9(4/5), 402-419.