การพัฒนาสื่อในรูปแบบมุมมอง 360 องศาเพื่อประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม บน Google Street View

Main Article Content

ณัฐพงษ์ พระลับรักษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียมุมมอง 360 องศา เพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม บน Google Street view และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียมุมมอง 360 องศา เพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามบน Google Street View กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ใน  การวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และบุคคลทั่วไป 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียมุมมอง 360 องศา เพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม บน Google Street View สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการศึกษาพบว่า 1) สื่อในรูปแบบมุมมอง 360 องศาเพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม บน Google Street View ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยภาพมุมมอง 360 องศาบริเวณที่สำคัญภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ทั้งหมด 24 ตำแหน่ง ผลการประเมินคุณภาพของสื่อในภาพรวม อยู่ในระดับมาก   ( = 4.04, S.D.= 0.64) และ 2) ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามผ่านสื่อในรูปแบบมุมมอง 360 องศาเพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม บน Google Street View โดยผลการประเมินความพึงพอใจภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.92, S.D.= 0.58)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] เกวลี ผาใต้, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม, และอภิวัฒน์ วัฒนะสุระ. (2561). สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีมิติเสมือนจริง เรื่อง คำศัพท์ ภาษาอังกฤษสัตว์โลกน่ารู้. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(1), 23-28.
[2] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2561). เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก. http://www.rmu.ac.th
[3] วิจิตร อาวะกุล. (2541). เทคนิคการประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] เรืองกิตติ์ เหลืองสกุลทอง. (2542). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์. นครราชสีมา: ภาควิชาการจัดการ สถาบัน ราชภัฎนครราชสีมา.
[5] วิรัช อภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] พนิดา ตันศิริ. (2553). โลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารนักบริหาร, 30(2), 169-175.
[7] วรลักษณ์ วิทูวินิต, และจรัญ แสนราช. (2559) การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดียเสมือนจริงเรื่อง ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมอยุธยา : กรณีศึกษาวัดพระราม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 96-108.
[8] ฐาปนพงศ์ สารรัตน์, และสืบศิริ แซ่ลี้. (2560). การพัฒนาสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ โดยใช้เทคนิคการจับภาพเคลื่อนไหว แบบมุมมอง 360 องศา เพื่อการเรียนรู้กีฬาเชียร์ลีดดิ้ง. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร,
8(1), 112-124.
[9] บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยสำหรับครู (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[10] อำนาจ หังษา. (2560). สื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นจริงเสริม เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.
[11] วีรวัฒน์ เพ็งช่วย และ สมชาย ทิพอ้าย. (2557). ระบบนำชมเสมือนจริงบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์.