แนวทางการออกแบบการเรียนการสอนตามหลักการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับ สื่อสังคมเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาสำหรับนิสิตวิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบและขั้นตอนของการเรียนการสอนตามหลักการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาสำหรับนิสิตวิชาชีพครู และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนิสิตวิชาชีพครูเกี่ยวกับ การออกแบบการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน จำนวน 5 คน และนิสิตวิชาชีพครู จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องฯ 2) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนฯ จำนวน 2 ชุด สำหรับอาจารย์ผู้สอนและนิสิตวิชาชีพครู สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สังเคราะห์ข้อมูลตามตัวแปรที่ศึกษาและนำมาเสนอในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบและขั้นตอนของการเรียนการสอนฯ พบว่า องค์ประกอบที่สำคัญมีทั้งหมด 15 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ การเรียนรู้ (3) เนื้อหารายวิชาและเนื้อหาที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา (4) กลยุทธ์การเรียนการสอน (5) เทคนิคการเรียนการสอน (6) กระบวนการ กิจกรรมการเรียนการสอน (7) บทบาทของอาจารย์ผู้สอน
(8) บทบาทของผู้เรียน (9) สื่อการเรียนการสอน (10) สื่อสังคม (11) เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้
(12) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ (13) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (14) การวัดและการประเมินผล (15) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา และขั้นตอนที่สำคัญมีทั้งหมด 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ (1) ขั้นเตรียมความพร้อม
(2) ขั้นสอน (3) ขั้นสรุป (4) ขั้นประเมินผล และใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 16 สัปดาห์ และ 2) ผลการศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนิสิตวิชาชีพครู พบว่า การออกแบบการเรียนการสอนที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา ควรคำนึงถึงลักษณะของนวัตกรรมการศึกษา วัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา เนื้อหาวิชาที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนของการเรียนการสอนและการประยุกต์ใช้สื่อสังคมในการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา รูปแบบ การเรียนการสอนตามหลักการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เทคนิคการสอนที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา บทบาทของอาจารย์ผู้สอนและบทบาทของนิสิตที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างสรรค์วัตกรรมการศึกษา สื่อการเรียนการสอนหรือทรัพยากรการเรียนรู้ที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาการประเมินการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา การเผยแพร่นวัตกรรมการศึกษา
Article Details
References
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[2] ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
[3] มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. (2560). หลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาสาขาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา (5ปี). (กศ.บ.). มหาสารคาม : ผู้แต่ง.
[4] ณัฏฐพงศ์ กาญจนฉายา. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามหลักการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับการผลิตสื่อการเรียนการ สอนของนิสิต นักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
[5] ภาสกร เรืองรอง, ประหยัด จิระวงพงศ์, วณิชชา แม่นยำ, วิลาวัลย์ สมยาโรน, ศรันยู หมื่นเดช, และชไมพร ศรีสุราช. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21.วารสารปัญญาภิวัฒน์. 5(ฉบับพิเศษ), 195-207.
[6] ฐาปนี สีเฉลียว. (2560). การศึกษากลยุทธ์การเรียนการสอนที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษาอย่างสร้างสรรค์.
มหาสารคาม: โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[7] พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม. (2558). การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38(2), 111-121.
[8] ณัฏฐพงศ์ กาญจนฉายา. (2559). การจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิจัย มสด สาขา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12(3), 207-224.
[9] ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2560). สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
11(1), 7-20.
[10] พิพัฒน์ อัฒพุธ, ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ และดิเรก ธีระภูธร. (2560). ผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก วิชาการ
ออกแบบและผลิตสื่อกราฟิกคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
นเรศวร. 19(2), 145-154.
[11] วีณา ประชากูล และประสาท เนืองเฉลิม. (2559). รูปแบบการเรียนการสอน, (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
[12] ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 20).
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[13] ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศการเสริม
การเรียนรู้ และ Z TO A เพื่อสร้างผลงานสร้างสรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
[14] ศศิพิมล ประพินพงศกร. (2560). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีกิจกรรมโดยใช้
คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมห้องสมุดสำหรับนิสิตวิชาชีพ
สารสนเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
[15] กุลชัย กุลตวนิช. (2561). รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยใช้กระบวนการออกแบบร่วมกับตัว
แบบจำลองเพื่อส่งเสริมความสามารถการออกแบบทางทัศนะสำหรับนิสิตนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์. วารสาร
ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(1), 1-17.
[16] Treffinger, Donald. J., Isaksen, Scott. G., & Dorval, Brian. K. (2003). Creative Problem Solving: A Contemporary
Framework for Managing Change. Buffalo: Creative Problem Solving Group.
[17] Moran, M., Seaman, J., & Tinti-Kane, H. (2012) Blogs, Wikis, Podcasts and Facebook how today’s higher
education faculty use social media. Boston, MA: Pearson.