ระบบตรวจวัดความชื้นแบบรวดเร็วบนสายการผลิตชีวมวลอัดเม็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบตรวจวัดความชื้นแบบรวดเร็วบนสายการผลิตชีวมวลอัดเม็ด และ 2) ทดสอบประสิทธิภาพของระบบตรวจวัดความชื้นแบบรวดเร็วบนสายการผลิต
ชีวมวลอัดเม็ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบตรวจวัดความชื้นแบบรวดเร็วบนสายการผลิตชีวมวลอัดเม็ด
2) แบบบันทึกการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ การทดสอบประสิทธิภาพของระบบด้วยการตรวจวัดค่าความชื้นชีวมวลอัดเม็ดที่ผลิตจากขี้เลื่อยจากขบวนการผลิตไม้แปรรูปยางพาราแล้วนำมาเปรียบเทียบค่ามาตรฐานทางวิศวกรรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบตรวจวัดความชื้นแบบรวดเร็วบนสายการผลิตชีวมวลอัดเม็ด มีส่วนประกอบ
2 ส่วน คือ (1) ส่วนเชื่อมต่อกับผู้ใช้ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ประมวลผลและจอสัมผัส และ (2) ส่วนตรวจวัด ประกอบด้วย อุปกรณ์สร้างความร้อน อุปกรณ์ตรวจวัดน้ำหนัก ตรวจวัดอุณหภูมิ และตรวจวัดค่าปริมาณความชื้น โดยมีโปรแกรมรับข้อมูลและแสดงผลการทำงาน ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และ 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ พบว่า ระบบสามารถตรวจสอบค่าปริมาณความชื้นของชีวมวลอัดเม็ดบนสายการผลิต เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานทางวิศวกรรมไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดได้อย่างรวดเร็วในสายการผลิต
Article Details
References
[2] อุกฤษฎ์ สหพัฒน์สมบัติ, ปานชีวา อุดมทรัพย์, เอกรัตน์ ไวยนิตย์, และธนกร ตันธนวัฒน์. (2551). การศึกษาเบื้องต้นถึงคุณภาพของชีวมวลสำหรับเชื้อเพลิงไม้อัดแท่ง. ในการประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22, (น.36-40). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.
[3] วรัญญา เทพสาสน์กุล, วรัญญา ธรรมชาติ, และอัครินทร์ อินทนิเวศน์. (2559). การศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ผ่านกระบวนการคาร์บอไนเซชันจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรประเภทกะลามะพร้าว. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12, (น. 610-618). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[4] นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล. (2557). การผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรและครัวเรือน. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 6(11), 66-77.
[5] ทิพย์วรรณ ช่วยทอง, ธเนศ ไชยชนะ, และศุภลักษณ์ อำลอย. (2557), สมบัติของถ่านจากเปลือกหมาก. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 17(3), 67-75.
[6] นริศ ชุดสว่าง. (2556). การผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกทุเรียนในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 7(2), 107-115.
[7] ธเนศ ไชยชนะ, จอมภพ แววศักดิ, จตุพร แก้วอ่อน, และอุษา อ้นทอง. (2557). สมบัติความเป็นเชื้อเพลิงของถ่านเปลือกมังคุด. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(3), 29–36.
[8] นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล, และพัชรี ปรีดาสุริยะชัย. (2558). การศึกษากากกาแฟและกากชามาใช้ประโยชน์ในรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 7(13), 15 – 26.
[9] พงษ์ศักดิ์ อยู่มั่น. (2559). การพัฒนาเครื่องอัดแท่งถ่านในรูปแบบเกลียวอัดเย็นสำหรับเชื้อเพลิงชีวมวล จากเศษวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตกาแฟชุมชน และการหาคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงจากผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1), 34 –48.
[10] หทัยนุช จันทร์ชัยภูมิ. (2561). ถ่านอัดแท่งจากเปลือกมะขาม. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3, (น. 288-296). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
[11] มนตรี นันตา. (2555). การผลิตและหาลักษณะเฉพาะทางกายภาพของถ่านอัดแท่ง จากถ่านแกลบและถ่านเปลือกข้าวโพด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่
[12] มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง. สืบค้นจาก: http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps238_47.pdf.
[13] ก่อ ทวีเงิน, ชัยยันต์ จันทร์ศิริ, และกิตติพงษ์ ลาลุน. (2558). คุณสมบัติทางกายภาพบางประการของหญ้าเนเปียร์ก่อนสับ
และหลังสับ เพื่อผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ด. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมฟาร์มและ เทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติระดับชาติ ครั้งที่ 2, 34-43. ขอนแก่น: ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, (น. 34-43)