การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนกูเกิลแมพสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เสมือนจริงในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุนิษา คิดใจเดียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนกูเกิลแมพสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสมือนจริงในจังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนกูเกิลแมพสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสมือนจริงในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เยาวชน ผู้ที่สนใจทั่วไป และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล MySQL
2) โปรแกรมภาษา PHP 3) Google Maps API และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนกูเกิลแมพสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสมือนจริงในจังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.1) ส่วนของผู้ดูแลระบบสามารถจัดการข้อมูลในระบบ ตรวจสอบและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี 1.2) ส่วนของเจ้าหน้าที่สามารถจัดการข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี และ 1.3) ส่วนของผู้ใช้สามารถดูสารสนเทศเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีได้ และ 2) ผลจากการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้พบว่าความพึงพอใจของผู้ใช้มีต่อระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนกูเกิลแมพสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสมือนจริงในจังหวัดนครศรีธรรมราชอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.62

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2562). การส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารวิชาการ
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 6(1), 8-16.
[2] สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). รายงานสถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา ประจำเดือน กันยายน พ.ศ. 2557. สืบค้นจาก http://secretary.mots.go.th/policy/ewt_dl_link.php?nid=1582
[3] สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2558). ยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม, คําขวัญและแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นจาก http://www.nakhonsithammarat.go.th
[4] เปรมรัตน์ พูลสวัสด์, อานุภาพ วงศ์พลับ, และยุวธิดา ชิวปรีชา. (2558). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน
ครั้งที่ 3 น. 597-604. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
[5] เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต. (2557). สุดอลังการประเพณีแห่นางดาน. สืบค้นจาก http://www.painaidii.com/most-like/ mostlike-detail/000248/lang/th
[6] สมชาย หิรัญกิตติ. (2551). ประเพณีวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช สืบค้นจาก http://www.nakhonsithammarat.go.th/ prapanee.php
[7] ฉวีวรรณ ทุ่งสิบสาม. (2554). ระบบนำทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านดาวเทียมบอกพิกัด. (การค้นคว้า ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
[8] โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[9] Best, John W. (1997). Research in Education (3nd. ed.,). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hell.
[10] วริศรา บุญสมเกียรติ. (2555). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช: วัดพระธาตุวรมหาวิหาร วัดธาตุน้อย และโบราณสถานวัดโมคลาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.
[11] กฤษฎา เดียวสุรินทร์ และณัฏฐ์ นาคกร. (2550). การจัดทำแผนที่ GIS เพื่อวิเคราะห์สภาพภูมิประเทศที่มีความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยและโคลนถล่มจังหวัดอุตรดิตถ์. (โครงงานวิศวกรรมโยธาปริญญามหาบัณฑิต), เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[12] สารัตถ์ ขัตติยะ. (2551). ระบบฐานข้อมูลสถานที่ส่วนราชการและเอกชนภายในจังหวัดเชียงใหม่โดยแสดงผ่านแผนที่ภูมิศาสตร์
กูเกิล. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญยามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.