การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี กรณีศึกษาอำเภอบ้านลาด (บ้านลาดโมเดล)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาต้นแบบระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี โดยใช้อำเภอบ้านลาด เป็นกรณีศึกษา และ 2) ศึกษาการยอมรับต้นแบบระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี โดยใช้อำเภอบ้านลาด เป็นกรณีศึกษา กลุ่มเป้าหมายคือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ 25 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ ต้นแบบการพัฒนาระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี กรณีศึกษาอำเภอบ้านลาด (บ้านลาดโมเดล) และแบบสอบถามการยอมรับต้นแบบระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี กรณีศึกษาอำเภอบ้านลาด (บ้านลาดโมเดล) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาต้นแบบระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี โดยใช้อำเภอบ้านลาด เป็นกรณีศึกษา มีผลการดำเนินการ ดังนี้ (1) การแสดงผลข้อมูลแผนที่ สามารถแสดงผลตำแหน่งของพื้นที่ที่มีปัญหาและความต้องการชุมชนตามตำแหน่งหรือพิกัด (2) ส่วนบันทึกข้อมูล ระบบสามารถจัดเก็บความต้องการในส่วนติดต่อกับผู้ใช้และจัดการฐานข้อมูลเพื่อนำไปแสดงผลในแผนที่กูเกิ้ล และการแสดงผลการติดตามชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการช่วยเหลือหรือตอบสนอง 2) ผลการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชนอำเภอบ้านลาด พบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดอันดับแรก คือปัญหาความยากจน จำนวน 53 ชุมชุน คิดเป็นร้อยละ 36.55 และ 3) ศึกษาการยอมรับต้นแบบระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี โดยใช้อำเภอบ้านลาด เป็นกรณีศึกษา พบว่าในภาพรวมผู้ประเมินให้การยอมรับระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยที่ 4.53 ประเด็นด้านฟังก์ชันการทำงาน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยที่ 4.45 ประเด็นด้านประสิทธิภาพการทำงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยที่ 4.53 ประเด็นด้านความง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยที่ 4.54 และประเด็นด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ในระดับมากที่สุด เฉลี่ยที่ 4.65 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
References
ac.th/home/hc/ebook/006103/lesson10/02.htm
[2] ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและพัฒนางานปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2556). อำเภอบ้านลาด จังหวัด
เพชรบุรี. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 20, 2562, จาก http://www.amphoe.com/menu.php?am=428&pv=37&mid=1
[3] สิทธิชัย ชูสำโรง. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 104333 การจัดการฐานข้อมูลและฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ. พิษณุโลก:
ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[4] จีราวุธ วารินทร์. (2558). สร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแบบ Responsive ด้วย PHP Bootstrap + E-Commerce ฉบับสมบูรณ์.
กรุงเทพฯ: รีไวว่า.
[5] ศิริสุภา เอมหยวก และสนทยา สาลี. (2562). การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์จังหวัด
พิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10(1), 35–48.
[6] สุกัญชลิกา บุญมาธรรม จิรวัฑฒ์ แก้วโกศล และเอกพงษ์ ทองแท้. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศจัดการฐานข้อมูลงานวิจัย
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3(2),
39–45.
[7] ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์. (2559). แอพพลิเคชันรับรู้และแสดงตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี ตามการจำแนกกลุ่มของผู้ใช้
ด้วยกูเกิ้ลแมพเอพีไอ บนมือถือระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม,
3(1), 74–82
[8] Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.
[9] สายชล เทียนงาม และคณะ (2561). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน :
กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่าเสา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 120–130.
[10] Rodríguez, F., Acuña, S., & Juristo, N. (2015). Reusable Solutions for Implementing Usability Functionalities (Vol.
25). https://doi.org/10.1142/S0218194015500084