การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์เพื่อจัดทำทะเบียนพรรณไม้ สวนพฤษศาสตร์โรงเรียน

Main Article Content

กิติพงษ์ จันทร์ถาวร

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์เพื่อจัดทำทะเบียนพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2) ประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี รหัสคิวอาร์ในการจัดทำข้อมูลทะเบียนพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อการใช้งานระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ในการจัดทำข้อมูลทะเบียนพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ จำนวน 5 คน ประเมินประสิทธิภาพของระบบ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  จำนวน 15 คน และกลุ่มที่ 3 เป็นบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 35 คน การพัฒนาระบบครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ใช้วงจรการพัฒนาระบบ SDLC เป็นมาตรฐานในการพัฒนาระบบคิวอาร์
โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ระบบรหัสคิวอาร์เพื่อจัดทำทะเบียนพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


         ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์เพื่อจัดทำทะเบียนพรรณไม้สวนพฤษศาสตร์โรงเรียน แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของโมบายแอปพลิเคชันสำหรับรหัสคิวอาร์ และส่วนเว็บแอปพลิเคชันสำหรับจัดการข้อมูลทะเบียนพรรณไม้สวนพฤษศาสตร์โรงเรียน 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ จำนวน 5 ท่าน อยู่ในระดับมาก  และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.(2561).
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน. สืบค้นจาก http://www.rspg.or.th/botanical_school/school_bot_11.htm
[2] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). รหัสคิวอาร์. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/รหัสคิวอาร์
[3] Probst, A. (2012). The Expectations of Quick Response (QR) Codes in Print Media: An Empirical Data Research
Anthology. UW-L Journal of Undergraduate Research XV, 15, 1-13.
[4] Cata, T., Patel, P. S., & Sakaguchi, T. (2013). QR Code: A New Opportunity for Effective Mobile Marketing.
Journal of Mobile Technologies, Knowledge and Society, Article ID 748267, doi: 10.5171/2013. 748267
[5] ไพศาล กาญจนวงศ์ และ อาบทิพย์ กาญจนวงศ์. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดสองมิตเพื่อบริการข้อมูลให้นักท่องเที่ยว
ในแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร เชียงใหม่. วารสารศรีนครินทร์วิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 120-134.
[6] มงคล รอดจันทร์ อวยไชย อินทรสมบัติ และ ธานิล ม่วงพูล. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ร่วมกับคิวอาร์โค๊ด
สำหรับการบันทึกการเข้าเรียนของนักศึกษาวิชาทหาร. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม,
5(1), 88-96.
[7] จักรินทร์ สันติรัตนภักดี, กิติพงษ์ จันทร์ถาวร และ ชุติญาภัค วาฤทธิ์. (2562). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับ
สวนพฤษศาสตร์โรงเรียน. ใน มหาวิทยาลัยเวสเทินร์, วิถีนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานวิจัยสู่เศรษฐกิจชุมชนไทยให้ยั่งยืน:
รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 14 (น.171-176). กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
[8] ดาวรถา วีระพันธ์. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารวิชาการการจัดการ
เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 145-154.
[9] Best, John. W. (1997). Research in Education. (3nd. Ed.,). Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hell.