การค้นคืนเอกสารตามเนื้อหาโดยใช้หลักการของกราฟ

Main Article Content

ผศ.ดร.แกมกาญจณ์ สมประเสริฐศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบกระบวนการค้นคืนเอกสารตามเนื้อหาของเอกสารโดยใช้หลักการของกราฟ และ 2) วัดประสิทธิภาพของกระบวนการค้นคืนเอกสารตามเนื้อหาของเอกสารโดยใช้หลักการของกราฟ ข้อมูลที่ใช้ในการทดลองคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีหัวเรื่อง “database design” วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูล การออกแบบกระบวนการค้นคืนเอกสารโดยใช้หลักการของกราฟ และการวัดประสิทธิภาพของการค้นคืน


ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการค้นคืนเอกสารตามเนื้อหาของเอกสารโดยใช้หลักการของกราฟประกอบด้วยงานหลัก 4 ส่วน ได้แก่ 1) การประมวลผลข้อความ 2) การสร้างดรรชนี 3) การวัดความคล้ายคลึง และ4) การจัดลำดับผลลัพธ์จากการค้นคืน ผลการวัดประสิทธิภาพของการค้นคืนเอกสารตามเนื้อหาของเอกสารโดยใช้หลักการของกราฟ พบว่า การคำนวณค่าความคล้ายคลึงระหว่างคำค้นกับดรรชนีในแต่ละโหนดด้วยวิธี Jaccard’s Coefficient รวมกับการใช้ระดับโหนดของดรรชนีในต้นไม้เอกสาร ช่วยในการจัดลำดับผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นคืนได้ดีกว่าการไม่ใช้ระดับโหนดของดรรชนีในต้นไม้เอกสาร และผลของการค้นคืนให้ค่าความแม่นยำ 0.75 ค่าการระลึก 1.00 และค่าเอฟ 0.85 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการที่นำเสนอสามารถนำมาใช้ในการค้นคืนเอกสารตามเนื้อหาที่เป็นประเด็นย่อยได้ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] เสกศักดิ์ ปราบพาลา และภัทรา นามเมือง. (2559). การพัฒนาระบบสืบค้นเชิงแผนที่โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ.
วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3(2), 81-87.
[2] มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชา 13723 หน่วยที่ 8-15 การจัดโครงสร้าง
สารสนเทศและการค้นคืน. นนทบุรี : สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[3] สมจิน เปียโคกสูง และนิศาชล จำนงศรี. (2553). ระบบนำทางความรู้เพื่อการเข้าถึงเนื้อหาในสื่อสิ่งพิมพ์. วารสารสารสนเทศศาสตร์,
28(3), 9-20.
[4] มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชา 13723 หน่วยที่ 1-7 การจัดโครงสร้าง
สารสนเทศและการค้นคืน. นนทบุรี : สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[5] อำพล ธรรมเจริญ. (2551). กราฟและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิทักษ์การพิมพ์.
[6] บุญเสริม กิจศิริกุล. (2546). ปัญญาประดิษฐ์. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, คณะ วิศวกรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
[7] NECTEC PEDIA. (2014, January 5). N-Gram. Retrieved from: http://wiki.nectec.or.th/runewwiki/bin/
view/IT630_11_Assignment/N-Gram
[8] สมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล. (2541). การออกแบบแฟ้มผกผันเพื่อการค้นคืนข้อความไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[9] Thammasut, D., & Sornil, O. (2006). A Graph-Based Information Retrieval System. Proceeding of International
Symposium on Communication and Information Technologies (pp. 743 – 748). Bangkok, Thailand: IEEE.