รูปแบบการบูรณาการเรียนการสอนแบบโครงงาน สู่บริการวิชาการโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

Main Article Content

พิมาย วงค์ทา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการบูรณาการการเรียนการสอนแบบโครงงาน สู่การบริการวิชาการโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบูรณาการ การเรียนการสอนแบบโครงงาน สู่การบริการวิชาการโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มเป้าหมาย คือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการบูรณาการการเรียนการสอนแบบโครงงาน สู่การบริการวิชาการโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบูรณาการการเรียนการสอนแบบโครงงาน สู่การบริการวิชาการโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 7 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) ด้านนโยบาย  ส่วนที่ 2) ด้านหลักการและแนวคิด ส่วนที่ 3) มคอ.3 ส่วนที่ 4) กิจกรรมการบูรณาการวิชาการ ส่วนที่ 5) การมีส่วนร่วมของนักศึกษา ส่วนที่ 6) การประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนที่ 7) ตัวชี้วัดความสำเร็จ ในส่วนของเทคโนโลยีดิจิทัลที่นำมาประยุกต์ใช้คือ Social Network, Media และ Google Apps และ 2) ความเหมาะสมของรูปแบบการบูรณาการการเรียนการสอนแบบโครงงาน สู่การบริการวิชาการโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการบูรณาการการเรียนการสอนแบบโครงงาน สู่การบริการวิชาการโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121/ตอนพิเศษ 23 ก/หน้า 1/14 มิถุนายน 2554
[2] สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 3 สิงหาคม 2560. ภาพพิมพ์ : กรุงเทพฯ
[3] เพลินพิศ จุฬพันธ์ทอง สุนทรี ดวงทิพย์ ชูชีพ พุทธประเสริฐ ยุภาดี ปณะราช (2557) วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปี
16 ฉบับที่ 1 2557
[4] กุลจิรา รักษนคร. (2557). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสอดแทรก เรื่อง ลดมลภาวะและสิ่งแวดล้อม เทิดไท้องค์ราชันย์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถม (ศึกษาศาสตร์). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[5] พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ พเยาว์ ยินดีสุข ราเชน มีศรี. (2556). การสอนคิดด้วยโครงงานการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] ศุภรัตน์ รัตนมุขย์. (2556). การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมกับการสร้างความเป็นพลเมืองใส่ใจสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[7] รุจโรจน์ แก้วอุไร และ ศรัณยู หมื่นเดช. (2557). 8 ขั้นตอนการเรียนแบบโครงงานร่วมกับโซเชียลมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารเทคโนโลยีการศึกษาและมีเดียคอนเวอร์เจนซ์ ปีที่1 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2557.
[8] ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการบริการวิชาการสังคมสำหรับนิสิตครูวิทยาศาสตร์.
[7] ธนิต พตรฤทธิรงค์. (2559). การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการแก่ชุมชนวิชาการออกแบบเครื่องประดับด้วยภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ไทย.
[8] Best, John. W. (1997). Research in Education, 3rd .ed. Englewood Cliffs: NJ, Prentice-Hell.
[9] อภิชาติ เหล็กดี. (2561). รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยดีิจิทัลเพื่อส่งเสริมการบรูณาการการเรียนการสอนสู่การบริการวิชาการชุมชน. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(3), 2613-2631.
[10] เสาวลักษณ์ พันธบุตร และ พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ. (2557). การให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ : กรณีศึกษาการพัฒนาชุดการสอนสำหรับการอบรมเชิงปฏิบัตการด้าน IT สำหรับครูโรงเรียนบ้านวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 16 ฉบับที่1 (31) กรกฎาคม - ธันวาคม 2557