การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเพื่อพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา

Main Article Content

วินิตย์ พิชพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเพื่อพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และ 2) สังเคราะห์รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเพื่อพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด แบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิค EDFR รอบที่ 1  2) แบบสอบถามแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเพื่อพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา รอบที่ 2 และ 3) แบบสอบถามแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเพื่อพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา รอบที่ 3 สถิติที่ใช้ ได้แก่ มัธยฐาน และผลต่างของควอไทล์ที่ 1 และ 3


ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเพื่อพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา มีผลแยกตามแต่ละด้านดังนี้  (1) ด้านนโยบาย หลักการ และแนวคิด การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเพื่อพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา จัดแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ นโยบายการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) และการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติร่วมกันในทุก ๆ ด้าน ในระดับมาก โดยที่ค่ามัธยฐานมีค่า 5 และผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 และ 1 เท่ากับ 0  (2) ด้านองค์ประกอบกิจกรรมรูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเพื่อพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ได้แก่ สาระการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ เทคนิคการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการทำโครงงาน รูปแบบสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวที่เหมาะสมกับนักเรียน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผ่าน Google Application การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผ่าน Youtube และการวัดและประเมินผล ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติร่วมกันในทุก ๆ ข้อ ในระดับมาก โดยที่ค่ามัธยฐานมีค่า 5 และผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 และ 1 อยู่ระหว่าง 0-1  (3) ด้านตัวชี้วัดรูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเพื่อพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ได้แก่ คุณลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และคุณลักษณะของนักเรียน ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติร่วมกันในทุก ๆ ด้าน ในระดับมาก โดยที่ค่ามัธยฐานมีค่า 5 และผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 และ 1 เท่ากับ 0 และ (4) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเพื่อพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ได้แก่ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบค่ายวิชาการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม การบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน การบูรณาการสะเต็มศึกษาในขั้นที่ 1 เปิดโลกการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ขั้นที่ 3 วางแผนการดำเนินงาน ขั้นที่ 4 ปฏิบัติการสร้างสรรค์ ขั้นที่ 5 จัดทำรายงานและคู่มือ และขั้นที่ 6 สานต่อการเรียนรู้  ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติร่วมกันในทุก ๆ ช่วง ในระดับมาก โดยที่ค่ามัธยฐานมีค่า 5 และผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 และ 1 อยู่ระหว่าง 0-1 และ 2) ผลการสังเคราะห์รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวเพื่อพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1) ด้านนโยบาย หลักการและแนวคิด ส่วนที่ 2) ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ส่วนที่ 3) สาระการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว ส่วนที่ 4) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนที่ 5) การวัดผลประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ และส่วนที่ 6) ตัวชี้วัดกิจกรรมการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.3. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
[2] สุพิชฌาย์ ศรีโคตร. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมผู้เรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์ Raspberry Pi. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[3] วรรณธนะ ปัดชา. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9(3), กันยายน – ธันวาคม 2559.
[4] ยุทธนา ไวประเสริฐ และคณะ. (2559). การพัฒนาชุดเชื่อมต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมวยระบบสมองกลฝังตัว. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 107-120.
[5] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ: พลิกหวานกราฟฟิก จำกัด.
[6] ชนารัตน์ คำอ่อน (2560), ความหมายและคุณค่าของโครงงานคอมพิวเตอร์ สืบค้นจาก http://www.rayongwit.ac.th /chanarat/unit1/unit1-1.html วันที่สืบค้น 18 กันยายน 2562.
[7] สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ.
[8] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์