ผลการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติ ของเดวีส์ เรื่อง การสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ศิรินภา โพธิ์ทอง
ฐาปนี สีเฉลียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่องการสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นที่มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง การสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของ  เดวีส์ 4) เปรียบเทียบทักษะการเขียนสะกดคำ ระหว่างก่อนและหลังเรียน และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง
(Purposive sampling) จำนวน 40 คน  โดยทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่องการสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  (1)  บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่องการสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3)  แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนสะกดคำ  (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย 
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ  Wilcoxon  Signed  Rank  Test


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่องการสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ  82.46/84.63  2) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่องการสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ  0.5494  แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.94 3) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์  เรื่อง การสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 และ 4) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่องการสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  มีทักษะในการเขียนสะกดคำ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน : ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[2] กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[3] พิเชฐ ทองนาวา. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย แบบภาพพาโนรามาเสมือนจริง เรื่อง พระราชวังสนามจันทร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
[4] ฟาริดา วรพันธุ์. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบฝึกปฏิบัติ เรื่อง การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกแบบเวกเตอร์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
[5] ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] สุธา ขวัญพุฒ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำภาษาไทยที่มีตัวการันต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนแบบบูรณาการทักษะกับเรียนแบบร่วมมือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
[7] วลารัตน์ ปฏิเวศ. (2551). การใช้การวัดประเมินควบคู่การฝึกทักษะการเขียน ในการส่งเสริมพัฒนาการการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
[8] กรมวิชาการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[9] วีรวรรณ เพ็งสมบัติ, ชาตรี เกิดแม่, และอังคนา กรันยาธิกุล. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 8(3). 97-109.
[10] สุปราณี ดวงพิลา. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบเทคนิค TAI. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[11] สุพัตรา รักชาติ. (2556). ผลการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้น เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และทักษะปฏิบัติดนตรีไทย ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.
[12] Schwendinger James Rea. (1977). A Study of Modality of Inferences and Their Relationship to Spelling Achievement of Sixth Grade Student. Research in Education. 12(51).