ระบบจัดการความรู้ภูมิปัญญาการทอผ้าของผู้สูงอายุในเขตภาคใต้ตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้การทอผ้า จากแหล่งข้อมูลการทอผ้าที่มีชื่อเสียงจาก 3 พื้นที่ในเขตภาคใต้ตอนบน ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการทอผ้า ได้แก่ อุปกรณ์การทอผ้า ลายผ้า และขั้นตอนการทอผ้า 2) เพื่อสร้างระบบสารสนเทศจัดการความรู้ภูมิปัญญาการทอผ้าฯ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลการใช้ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศนี้พัฒนาในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน โดยภาษาคอมพิวเตอร์ PHP ร่วมกับการจัดการข้อมูลด้วย MySQL สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ในการประเมินผลการวิจัยโดยเครื่องมือวิจัยที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 1) ประเมินประสิทธิภาพโดยรวมจากผู้ใช้ 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้บันทึกข้อมูลเรื่องการทอผ้าเข้าสู่ระบบผลการประเมินจากระดับคะแนน 1-5 ( =4.50) และกลุ่มผู้เรียนรู้การทอผ้าผลการประเมินจากผู้ที่เคยเรียนรู้การทอผ้า ( =4.47) และผู้ที่ไม่เคยเรียนรู้การทอผ้า ( =3.35) 2) ประเมินประสิทธิภาพซอฟต์แวร์จากกระบวนการทดสอบระบบ 4 รูปแบบ โดยคิดเป็นร้อยละ 1) ตรวจสอบความต้องการของระบบ ร้อยละ 100 2) ตรวจสอบการออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบ ร้อยละ 100 3) ทดสอบกระบวนการทำงานของระบบในภาพรวมร้อยละ 100 4) ทดสอบกระบวนการทำงานของระบบในหน่วยย่อย โดยแบ่งข้อผิดพลาดเป็นระดับ 1-3 พบข้อผิดพลาดระดับ 2 (ข้อผิดพลาดที่ยังดำเนินการต่อได้) ร้อยละ 37.5 สรุประบบสารสนเทศจัดการความรู้ภูมิปัญญาการทอผ้าของผู้สูงอายุในเขตภาคใต้ตอนบน สามารถเป็นช่องทางการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพเข้าถึงข้อมูลการทอผ้าได้ผ่านทางระบบสารสนเทศ และการใช้งานมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์ การออกแบบฐานข้อมูลสามารถขยายขอบเขตข้อมูลการทอผ้าในระดับที่กว้างขึ้นได้
Article Details
References
[2] มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 10.มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.กรุงเทพฯ.
[3] หวันม๊ะ นุ้ยหมีม. ครูทอผ้าบ้านพุมเรียง 81 ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี (18 มีนาคม 2560). สัมภาษณ์.
[4] สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2549). การฉายภาพประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2548-2568. เอกสารทางวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล หมายเลข 314.
[5] สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. สำนักพิมพ์ เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.กรุงเทพฯ.
[6] วิจารณ์ พานิช, ศ.นพ.การจัดการความรู้ KNOWLEDGE MANAGEMENT (KM). สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2559, จากเว็บไซต์:https://www.rsu.ac.th/science/file/article/04_KM230853.pdf.
[7] Ribino, P., Oliveri, A., Lo Re, G. and Gaglio,S. (2009). A Knowledge Management System based on Ontologies. International Conference on New Trends in Information and Service Science, June 30 2009-July 2 2009.
[8] พงศักดิ์ คูประเสริฐยิ่ง และ วันชัย ตรียะประเสริฐ. (2555).การพัฒนาเว็บไซต์การจัดการความรู้สำหรับเภสัชกรที่ให้บริการเภสัชสนเทศ. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ.7(1):29-38.
[9] กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ .2546. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2559, จากเว็บไซต์:http://ccw.cbct.net/index/download/Laws%20Oldest%202546.pdf
[10] ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
[11] พัชรินทร์ เทพสุวรรณ. วัฒนธรรมผ้า : ผ้าทอพื้นเมืองภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559,จากเว็บไซต์http://culture.pn.psu.ac.th
[12] สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554).ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
[13] Lisa A. Guion, David C. Diehl, and Debra McDonald. (2011). Conduction an In-depth Interview. University of Florida IFAS Extension.
[14] อรยา ปรีชาพานิช. (2557). คู่มือเรียน การวิเคราะห์และออกแบบระบบ : System Analysis and Design ฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี : ไอดีซีฯ.
[15] Rovinelli, R. J. and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of
criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research.1997(2): 49–60.
[16] บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2562).เทคนิคการแปลผลคอมพิวเตอร์สำหรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในการวิจัย.วารสารวิชาการ
สังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น. 1(1), 37-52.