ผลการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมตามรูปแบบ ADDIE Model ในรายวิชาการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน

Main Article Content

ธวัชชัย สหพงษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมตามรูปแบบ ADDIE Model ในรายวิชาการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน 2) เพื่อหาคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมตามรูปแบบ ADDIE Model ในรายวิชาการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชันที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) รายละเอียดของรายวิชาการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน (มคอ.3) 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า


  1. ผลพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมตามรูปแบบ ADDIE Model ในรายวิชาการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน ได้สื่อมัลติมีเดียจำนวน 4 เรื่อง

  2. ผลการหาคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมตามรูปแบบ ADDIE Model ในรายวิชาการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 1) 1 day in Udonthani Festival ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดอยู่โดยภาพรวมอยู่ระดับ มาก ( = 4.11, S.D. = 0.93)  2) Phra Yuen Temple ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดอยู่โดยภาพรวมอยู่ระดับ มาก (  = 4.93, S.D. = 0.52)  3) หมู่บ้านทอผ้า บ้านหนองเขื่อนช้าง ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดอยู่โดยภาพรวมอยู่ระดับ มาก ( = 4.50, S.D. = 0.56) และ4) เทศกาลหุ่นฟางยักษ์ มหาสารคาม ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดอยู่โดยภาพรวมอยู่ระดับ มาก ( = 3.67, S.D. = 0.88)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2560). ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สืบค้นจาก https://www.rmu.ac.th.
[2] คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2562). แผนยุทธศาสตร์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราช
ภัฏมหาสารคาม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560 – 2564 (ฉบับทบทวน ประจำปี 2562). สืบค้นจากhttp://it.rmu.ac.th/th/assets/
uploads/2019/06/strategic-plan.pdf.
[3] กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
[5] จิรายุฑ ประเสริฐศร และคชากฤษ เหลี่ยมไธสง (2559). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับเยาวชน
จังหวัดบุรีรัมย์. รมยสาร. 12(1), 43-55.
[6] นิเวศน์ วงศ์ประทุม. (2559). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียประกอบการสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีชาร์ป 1 ระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน). สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
[7] ณัฐพงษ์ พระลับรักษา. (2562). การผลิตสื่อมัลติมีเดียเผยแพร่องค์ความรู้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์.
วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 10(1), 140-147.
[8] บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. พิมพครั้งที่ 7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาสน.