การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

Main Article Content

ธเนศ ศรพรหม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการของผู้สูงอายุที่มีต่อการพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จากการสำรวจความต้องการ โดยใช้แบบสำรวจเกี่ยวกับความต้องการของผู้สูงอายุที่มีต่อการพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน จากผู้ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ที่มีช่วงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จาก 11 หมู่บ้านในเขตอำเภอม่วงสามสิบ โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย 2) ศึกษาคุณภาพของแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จากผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อ และผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของการใช้แอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ โดยเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุบ้านม่วงสามสิบ ตำบลม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบสุ่มโดยการจับฉลาก จำนวน 40 คน 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการใช้แอปพลิเคชันโดยใช้ การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จากแบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุบ้านม่วงสามสิบ จำนวน 40 คน โดยใช้เครื่องมือในการคำนวณค่าสถิติ พื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการสำรวจความต้องการการพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =4.69) 2) ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี (x =4.27) และผลการเมินคุณภาพด้านสื่อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (x =4.62) 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจโดย ภาพรวมมีความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (x =4.57) และหลังจากมีการเรียนรู้ร่วมกันผ่านกลุ่มไลน์โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้และการมีส่วนร่วมใน สังคมของผู้สูงอายุเรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว และสะดวกมากขึ้น ดังนั้น จึงพบว่า การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ มีคุณภาพสามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ได้จริงอย่างมี ประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ศรพรหม ธ. (2020). การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 23–36. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/240790
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2561). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2561, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, หน้า 4-5,13.
[2] กลุ่มงานวิจัยและข้อมูล สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand), สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, กรุงเทพฯ, 1-2.
[3] ณัฎร์ฐิตตา เทวาเลิศสกุล. (2559). “แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลัง กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต”, Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม - เมษายน): 529.
[4] สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). ผู้สูงอายุไทย 2560 มุมมองเสียงสะท้อนจากข้อมูลสถิติ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, หน้า 42.
[5] จิระ ชนรักสุข. (2556). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นระบุตำแหน่งเพื่อการเรียนรู้สำหรับผู้พิการทางสายตาบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า ข.
[6] ณัฐนันท์ ศิริเจริญ. (2558). “กรณีศึกษาการใช้สื่อใหม่ผ่านโซเชียลมีเดียในโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุกับ สมาชิกในครอบครัว ณ ประเทศนิวซีแลนด์”, Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 8, ฉบับที่ 3 (เดือนกันยายน - ธันวาคม): 96.
[7] พิชัย ทองดีเลิศ. (2547). การเสนอรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีที่มี รูปแบบการเรียนต่างกัน, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[8] Balkcom. S. (1992). Cooperative Learning : What's it? [Online]. Available : http:www.ilt. columbia.edu/k12/livetext/docs/cooplearn.html
[9] อรพรรณ พรสีมา. (2560). โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต้นแบบการเรียนรู้ทางด้านหลักทฤษฎีและแนวปฏิบัติ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
[10] สุพิน ดิษฐสกุล. (2543). “การเรียนรู้ร่วมกัน”, วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, ปีที่ 15, ฉบับที่ 2 หน้า 1-8.
[12] ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. (2559). จังหวัดอุบลราชธานี. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://mukdahan.kapook.com
[13] ยุทธ ไกยวรรณ์. (2552). ออกแบบเครื่องมือวิจัย, สำนักพิมพ์บริษัท พิมพ์ดี จำกัด, กรุงเทพฯ, หน้า 61.
[14] บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น, 2554.
[15] Sudarat Yodmongkol. (2558). ADDIE Model ใน แนวคิด ทฤษฎี การจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาในอนาคต. 2558. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://kurdakata.blogspot.com/2015/01/addie 10.html
[16] วิลัยพร ไชยสิทธิ์. (2560). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นฝึกทักษาทางคณิตศาสตร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสำหรับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ราชบุรี, สำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, หน้า 52-55.
[17] มนัญญา นาควิลัย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิต. กรณีศึกษาไลน์แอปพลิเคชัน, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, หน้า ข.
[18] ณัฐฐาชล ประเสริฐสถิตย์ และณัฐชนน ทองใหม่. (2557). แอพพลิเคชันสำหรับคนรักสุขภาพ, ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, หน้า ข.