การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อนำเสนออนิเมชั่นภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติและพระศรีอาริย์ในโบราณสถานเชิงอนุรักษ์ในรูปแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมพื้นถิ่นในตำบลเขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี

Main Article Content

ไชยพล กลิ่นจันทร์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อนำเสนออนิเมชั่นภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติและพระศรีอาริย์ในโบราณสถานเชิงอนุรักษ์ ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ในรูปแบบอนิเมชั่นและแสดงผลในรูปแบบเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านสมาร์ทโฟน 2) ศึกษาผลการทดลองเผยแพร่ข้อมูลระบบสารสนเทศเพื่อนำเสนออนิเมชั่นภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติและพระศรีอาริย์ในโบราณสถานเชิงอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมจินตนาการในการเรียนรู้และ 3) ศึกษาผลความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อนำเสนออนิเมชั่นภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติและพระศรีอาริย์ในโบราณสถานเชิงอนุรักษ์


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้สืบค้นและเก็บข้อมูลเรื่องราวตามภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติและพระศรีอาริย์ในโบราณสถานเชิงอนุรักษ์ ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี พบว่าสามารถสร้างระบบสารสนเทศเพื่อนำเสนออนิเมชั่นภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติและพระศรีอาริย์ในรูปแบบอนิเมชั่นและแสดงผลในรูปแบบเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านสมาร์ทโฟน 2) ศึกษาผลการทดลองเผยแพร่ข้อมูลระบบสารสนเทศเพื่อนำเสนออนิเมชั่นภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติและพระศรีอาริย์เพื่อส่งเสริมจินตนาการในการเรียนรู้ พบว่า สามารถช่วยเผยแพร่ข้อมูลเรื่องทศชาติและประวัติพระศรีอาริย์ และส่งเสริมจินตนาการในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีและ 3) ผลการศึกษาผลความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อนำเสนออนิเมชั่นภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติและพระศรีอาริย์พบว่า มีความพึงพอใจของผู้ใช้อยู่ในระดับมาก (X = 4.06)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ. (2559). พุทธศิลป์ : ถิ่นไทย ศิลปกรรมเพื่อพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 1(2), 59-74.
[2] วีรภัทร อารีศิริ. (2559). พระพุทธเจ้าในภัทรกัลป์ : การแสดงออกในงานศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[3] เสาวภา กลิ่นสูงเนิน, สมเกียรติ ตันติวงศ์วาณิช และศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรีซ. (2558). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 288-295.
[4] พิชญ์สินี พุทธิทวีศรี,วรรณพรรธน์ ริมผดีและดลใจ ฆารเรือง. (2559). นวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง 3มิติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
[5] ปัญญาวัฒน์. (2552). พระบรมโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ต้นบุญ.
[6] กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, และพนิดา พานิชกุล. (2546). คัมภีร์การพัฒนาระบบเชิงวัตถุด้วย UML และ JAVA. กรุงเทพฯ: เคทีพีคอมพ์ แอนด์ คอนซัลท.
[7] ชูศรี วงศ์รัตน์. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฤ.
[8] ธนาวรรณ ไพศาลพานิชย์. (2550). การพัฒนาระบบการจัดการความรู้ สำหรับงานสารบรรณ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง บนเครือข่ายอินทราเน็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).
[9] พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2562). การส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 6(1), 8-16.