การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับโต้ตอบกับผู้สูงอายุ

Main Article Content

สายสุนีย์ จับโจร
สุดาใจ โล่ห์วนิชชัย
ธิดานุช พุทธสิมมา
เบญจภัค จงหมื่นไวย์

บทคัดย่อ

การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับโต้ตอบกับผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อนำไปใช้งานกับผู้สูงอายุ 2) ประเมินผลการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับผู้สูงอายุ 3) ประยุกต์ใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์กับระบบโต้ตอบแบบมีปฏิสัมพันธ์
โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จากการศึกษาเอกสารและการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้ออนไลน์
กับกลุ่มเป้าหมายในการทดสอบ ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน ในจังหวัดนครราชสีมา ได้มาจาก
การเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนการดำเนินการ การวิเคราะห์ข้อมูล การใช้สถิติพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า t-test และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ออกแบบและพัฒนาสื่อ
การเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อนำไปใช้งานกับผู้สูงอายุ ได้แก่ ข้อมูลนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์และข้อมูลป้อนกลับ 2) ผลการประเมินการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับโต้ตอบกับผู้สูงอายุ พบว่า
1) ด้านเนื้อหา เท่ากับ ( = 4.34, S.D. = 0.64) 2) ด้านอักษร เท่ากับ ( = 4.44, S.D. = 0.59)
3) ด้านรูปภาพ เท่ากับ ( = 4.27, S.D. = 0.65) 4) ด้านเสียง เท่ากับ ( = 4.49, S.D. = 0.58)
แปลผลได้ว่า สื่อมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้งานในระดับมากที่สุด 3) ผลการประยุกต์ใช้สื่อ
การเรียนรู้ออนไลน์กับระบบโต้ตอบแบบมีปฏิสัมพันธ์  พบว่า สื่อการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับผู้สูงอายุ
ใช้งานได้อย่างเป็นอิสระ ( = 4.85, S.D. = 0.36) วิธีการแชทบอทผู้ใช้งานสื่อเห็นเนื้อหาและข้อมูลครบถ้วน ( = 4.82, S.D = 0.38) สื่อสามารถส่งเสริมการประกอบอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ
( = 4.82, S.D = 0.38) การโต้ตอบกับผู้ดูแลระบบสร้างเสริมประสบการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์
โดยอัตโนมัติ ( = 4.84, S.D = 0.36) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Department of health. (2018). Elderly Healthy. สืบค้นจาก
http://eh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=Agingmanual
[2] Digital Economy Promotion Agency. (2018). Thailand’s Digital Economy at a Glance.
สืบค้นจาก https://www.depa.or.th/th/article-view/thailand-digital-economy-glance
[3] Chalada Charoenrakpanya. (2018). Thinking corner to create an aging society.
สืบค้นจาก shorturl.at/vwxDF
[4] Worawet Suwanrada. (2018). The complete report of the Project Cost Estimation for the Elderly in the Institute. สืบค้นจาก https://thaitgri.org/
[5] Ian Mackie. (2017). Introduction to Artificial Intelligence. Second Edition. Undergraduate Topics in Computer Science. Springer.
[6] Bernd W. Wirtz. (2019). Digital Business Models. Springer Nature Swizerland. International Publishing AG.
[7] ฉัตรภา หัตถโกศล, ชลฤทธิ์ เหลืองจินดา, ชนิศา ตันติเฉลิม และ ณฐกมล ผดาเวช. (2562). Digital media development for food and nutrition education By using multimedia applications For Thai elderly and caregivers. สืบค้นจาก https://op.mahidol.ac.th/ra/2019/08/20/ph_2562-01/
[8] ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก. (2560). The development of media technology for education management to improve the life quality of elderly by public participation. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 10(4), 108-120.
[9] Rath Panyowat. (2018). Value-based Health Care. สืบค้นจาก https://rath.asia/2017/07/value-based-health-care/