รูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้สู่การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมสินค้าชุมชน ด้วยเทคโนโลยี AR

Main Article Content

อภิชาติ เหล็กดี
ณัฐพงศ์ พลสยม
ณพรรธนนท์ ทองปาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้สู่การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมสินค้าชุมชนด้วยเทคโนโลยี AR  2) พัฒนากิจกรรมการบูรณาการการเรียนรู้สู่การบริการวิชาการ  3) ทดลองใช้กิจกรรมการบูรณาการการเรียนรู้สู่การบริการวิชาการ และ 4) ศึกษาการยอมรับกิจกรรมการบูรณาการการเรียนรู้สู่การบริการวิชาการ  วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ระยะ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินรูปแบบและกิจกรรม  แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรม  แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีการบริการวิชาการ และแบบสอบถามการยอมรับกิจกรรม  สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้สู่การบริการวิชาการ มีองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่  ส่วนที่ 1  หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  ส่วนที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL)  ส่วนที่ 3 เทคโนโลยีดิจิทัลที่นำมาประยุกต์ใช้  และส่วนที่ 4 ตัวชี้วัดในการบูรณาการการเรียนรู้สู่การบริการวิชาการ ความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมาก  2) กิจกรรมการบูรณาการการเรียนรู้สู่การบริการวิชาการ ประกอบด้วยกิจกรรม 5 ขั้น ได้แก่  ขั้นศึกษา  ขั้นวางแผน  ขั้นปฏิบัติ  ขั้นประเมิน และขั้นเผยแพร่ ความเหมาะสมของกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด  3) นักศึกษาสามารถทำหรือปฏิบัติได้ เป็นแบบอย่างได้ คิดเป็นร้อยละ 88.75  นักศึกษาสามารถทำหรือปฏิบัติได้ โดยต้องให้การแนะนำ คิดเป็นร้อยละ 7.50  การประเมินชิ้นงานของนักศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจที่มีต่อการบริการวิชาการสู่ชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด  4) การยอมรับกิจกรรมการบูรณาการการเรียนรู้สู่การบริการวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เหล็กดี อ. ., พลสยม ณ., & ทองปาน ณ. . (2020). รูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้สู่การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมสินค้าชุมชน ด้วยเทคโนโลยี AR. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 84–94. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/241946
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง. (2547). บทความ 200 ปี กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทเพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
[2] สุมาลี ชัยเจริญ และอิศรา ก้านจักร. (2549). จากเทคโนโลยีการถ่ายทอดมาสู่เทคโนโลยีทางปัญญา. วารสารเทคโนโลยีทางปัญญา, 1(1), 3-7.
[3] สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2546) การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเสมียนนารี.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[4] กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติพุทธศักราช 2542 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
[5] นิรมล ศตวุฒิ. (2547). การจัดการเรียนรู้ที่เริ่มจากผู้เรียน. วารสารวงการครู, 1(7), กรุงเทพฯ: ฐานวิชาการ.
[6] ปรียา พรหมจันทร์. (2542). ศึกษาปัจจัยและวิธีการพัฒนาชุมชนบ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
[7] องค์อร สงวนญาติ และคณะ. (2560). การประเมินโครงการเพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้ระหว่างห้องเรียนพิเศษ โปรแกรมนานาชาติ (IP) กับหลักสูตรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการ Education Hub กระทรวงศึกษาธิการในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
[8] นิติศักดิ์ เจริญรูป. (2560). การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(1), 13-30.
[9] Best, John. W. (1997). Research in Education. (3nd. ed.,). Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hell.
[10] สุขิตา บุญร่วม และดวงกมล โพธิ์นาค. (2559). การนำเทคโนโลยีสื่อเสมือนจริง มาใช้ประกอบสื่อการเรียนรู้บนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบก้อนเมฆ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสิมา, 2(1), 38-44.
[11] จันทกานต์ สถาพรวจนา และสกนธ์ ม่วงสุ่น. (2557). การออกแบบและพัฒนาหนังสือเรียนที่ใช้เทคโนโลยีออคเมนต์เตดเรียลริตี้ในการนำเสนอภาพประกอบแบบสามมิติ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.