ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ้าทอพื้นบ้านสินค้าระดับพรีเมี่ยมกลุ่มชาติพันธุ์เขมร

Main Article Content

Chusak Yathongchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ้าทอพื้นบ้านที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ้าทอพื้นบ้านสินค้าระดับพรีเมี่ยมกลุ่มชาติพันธุ์เขมร กลุ่มตัวอย่าง คือ กรรมการหมู่บ้าน/สมาชิกกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านกลุ่มชาติพันธุ์เขมร จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ระบบทำงานในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันที่มีการนำเสนอข้อมูลเป็นลักษณะของเมนูการเรียกค้นข้อมูลทางจอภาพและโทรศัพท์มือถือ โดยหน้าหลักประกอบด้วย ส่วนแสดงอัตลักษณ์ผ้าทอ ส่วนซื้อสินค้า และติดต่อเรา ที่มีการทำงานหลัก 4 กระบวนการ คือ 1) จัดการข้อมูลภายในระบบ ได้แก่ ข้อมูลผ้า ประเภทสินค้า สินค้า ข้อมูลการสั่งซื้อ ข้อมูลการชำระเงิน และข้อมูลพื้นฐานของเว็บไซต์ 2) ตะกร้าสั่งซื้อสินค้า รวมถึงข้อมูลการจัดส่งสินค้าให้กับสมาชิก 3) ชำระเงิน ที่สามารถตรวจสอบและยืนยันข้อมูลการชำระเงินเพื่อการจัดส่งสินค้า และ 4) พิมพ์รายงานของระบบ จากการศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานระบบ 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาของเว็บไซต์ ด้านการออกแบบเว็บไซต์ และด้านกระบวนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่า โดยภาพรวมของความพึงพอใจในการใช้งานระบบอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.16, S.D = 0.67)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.nstda.or.th/th/nstda-doc-archives/thailand-40/11625-blueprint-thailand-4.
[2] จารุณี ชัยโชติอนันต์. (2556). สืบสานตำนาน ผ้าไหมบุรีรัมย์. กรุงเทพฯ : บริษัท ไอพริ้นท์ แอนด์ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด.
[3] รติวัฒน์ ปารีศรี. (2554). ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จ.พิษณุโลก. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบูลสงคราม, 7(14).
[4] ปุญญพัฒน์ อนันตธนวิทย์. (2558). การศึกษาและพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา จังหวัดอ่างทอง. (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
[5] สุพัฒธณา สุขรัตน์. (2555). แนวทางการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจ. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.
[6] แอนนา พายุพัด ฐัศแก้ว ศรีสด และธัชกร วงษ์คำชัย. (2558). การพัฒนาต้นแบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ OTOP 3-5 ดาว. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กรุงเทพฯ.
[7] ปรีชา บุญรอด. (2541). มาตรวัดการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (ตอนที่ 2) [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.journal.au.edu/abac_ newsletter/1998/june98/scale.html.
[8] สมจิตต์ รัตนอุดมโชค. (2550). การสร้างตารางแจกแจงความถี่. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://elearning. snru.ac.th/els/somjit/ sub.html
[9] จีราภรณ์ สุธัมมสภา. (2555). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการจัดการธุรกิจนำเข้า-ส่งออก. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.