ระบบรักษาความปลอดภัยในการใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจีเป็นของที่อยู่คู่กับครัวเรือนไทยเกือบทุกหลังคาเรือน โดยพบว่าสัดส่วนการใช้ก๊าซแอลพีจีมากที่สุด อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดจากการนำก๊าซแอลพีจีมาใช้ก็มีมากเช่นเดียวกัน เช่น การรั่วไหลในอากาศ การระเบิด เป็นต้น การคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้ก๊าซแอลพีจีจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้ดำเนินการศึกษา ออกแบบและพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยในการใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับการใช้งานก๊าซหุงต้มในครัวเรือน ซึ่งระบบที่พัฒนาขึ้นนั้นมีสามารถตรวจจับการรั่วไหลของก๊าซและความร้อนที่เกิดจากอัคคีภัยได้ เมื่อเกิดเหตุก๊าซรั่วไหลหรือความร้อนสูง ระบบจะรับข้อมูลแล้วส่งข้อมูลไปยังสัญญาณเตือนภัย พร้อมทั้งส่งข้อความแจ้งเตือนเข้าแอปพลิเคชันไลน์ให้กับผู้ใช้งานระบบ และจากผลการทดสอบระบบ พบว่า ความสามารถในการตรวจจับการรั่วไหลของก๊าซและความร้อนที่เกิดจากอัคคีภัยได้อย่างถูกต้อง
Article Details
References
[2] กระทรวงพลังงาน. (ม.ป.ป.). ก๊าซ LPG เชื้อเพลิงสำหรับการหุงต้ม. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน.
[3] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการอบรมค่ายหุ่นยนต์ปลา ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
[4] Wikipedia. (2561). NodeMCU. สืบค้นจาก https://en.wikipedia.org/wiki/NodeMCU
[5] กราฟิกบัตเฟต. (2561). Line notify ตัวช่วยใหม่ ให้คุณไม่พลาดข่าวสารสำคัญทางธุรกิจ. สืบค้นจาก https://grahttps://graphicbuffet.co.th/line-notify
[6] ยุทธนา ดีเทยนี และธงรบ อักษร. (2560). ระบบแจ้งเตือนเหตุอัคคีภัยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
[7] นิคม ลนขุนทด. (2557). โปรแกรมควบคุมระบบการตรวจจับปริมาณแก็สแอลพีจีในห้องครัวด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ พร้อมระบบส่งสัญญาณเตือนภัย. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
[8] บุญครอง วิวัฒน์วานิชวงศ์ พงศ์กัด สุวรรณทา และวีรวัฒน์ อุทธโยธา. (2557). ระบบตรวจจับแก๊สและแจ้งเตือนอัตโนมัติผ่าน เครือข่าย GSM. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยสุรนารี.