การพัฒนาแบบจำลองเทคโนโลยีสารสนเทศในการคาดการณ์อาชีพอนาคตของบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Main Article Content

benjapuk benjapuk jongmuanwai

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองเทคโนโลยีสารสนเทศในการคาดการณ์อาชีพอนาคตของบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และศึกษาผลการคาดการณ์อาชีพอนาคตของบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศการดำเนินการกับ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บัณฑิตที่จบการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2546-2560 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,178 คน ได้มาจากการสุ่มเลือกแบบแบ่งกลุ่มชั้นหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และเทคนิคเหมืองข้อมูลด้วยแบบศึกษาไม่มีโครงสร้าง ในการสังเคราะห์แบบจำลอง ส่วนผลการคาดการณ์อาชีพอนาคตของบัณฑิต ด้วยแบบรายการบันทึกข้อมูลด้านอาชีพของบัณฑิต การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ และใช้หลักการวิเคราะห์แบบสมการเชิงเส้น ในด้านค่าความถูกต้องและค่าความเชื่อมั่น ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบแบบจำลองเทคโนโลยีสารสนเทศในการคาดการณ์อาชีพของบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 1) เทคนิคการแบ่งกลุ่มข้อมูล 2) เทคนิคการจัดกลุ่มข้อมูล 3) เทคนิคการคาดการณ์ข้อมูล โดยแบบจำลองมีประสิทธิภาพในการคาดการณ์ข้อมูลภาพรวมเฉลี่ยร้อยละ 77.40 ซึ่งอยู่ในระดับสูง และผลการคาดการณ์อาชีพอนาคตของบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย การเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (1-3) ได้แก่ อาชีพโปรแกรมเมอร์ อาชีพเจ้าหน้าที่ธุรการ และอาชีพอิสระ ทั้งนี้แบบจำลองสามารถเป็นประโยชน์ของข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกอาชีพในอนาคตสำหรับบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
[2] มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2559). หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ. ปรับปรุงครั้งที่ 3. นครราชสีมา. หน้า 1-210.
[3] วรรณวิมล จงจรวยสกุล. (2555). ภาวการณ์มีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา วิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีการศึกษา 2554-2555.
รายงานการวิจัยทุนอุดหนุนกการวิจัยจากวิทยาลัยราชพฤกษ์. จังหวัดนนทบุรี, กรุงเทพฯ.
[4] จันทร์จิรา พิลาแดง. (2558). การจัดกลุ่มแบบสองด้านโดยขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม เพื่อแบ่งกลุ่มระดับความเข้มแข็งของ
ครอบครัวไทย. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[5] ภาภรณ์ เหล่าพิสัย และจรัญ แสนราช. (2562). การวิเคราะห์การลาออกกลางคันของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยใช้เทคนิควิธีการ
ทำเหมืองข้อมูล. วารสารวิทยาศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 16(2), 61-71.
[6] สำราญ วานนท์ ธรัช อารีราษฎร์ และจรัญ แสนราช. (2561). การศึกษาเทคนิคพยากรณ์อาชีพสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
สาขาคอมพิวเตอร์ โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม,
5(1), 164-171.
[7] ธิดารัตน์ แซ่หยี. (2561). การพัฒนาต้นแบบระบบสนับสนุนการใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล.
(วิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
[8] ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล. (2559). การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของ
นักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์).
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, กรุงเทพฯ.
[9] Shearer, C. (2000). The CRISP-DM model: The new blueprint for data mining. Journal of Data Warehousing, 5(4),
13–22.
[10] พงษ์ดนัย จิตตวิสุทธิกุล. (2560). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพตัวแบบพยากรณ์จำนวนนักศึกษาใหม่ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผล
กับการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยใช้เทคนิค ENSEMBLE. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 9,
นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
[11] ฐิติมา ช่วงชัย. (2559). การวิเคราะห์หารูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้เหมืองข้อมูลของนักศึกษาต่อการจัดทำปริญญานิพนธ์.
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(2), 53-62.