การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการข้อมูลธนาคารขยะ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนมหาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

Main Article Content

พัชราภรณ์ หงษ์สิบสอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเพื่อการจัดการข้อมูลธนาคารขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนมหาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน 2) พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการข้อมูลธนาคารขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนมหาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และ 3) ถ่ายทอดเทคโนโลยีแอปพลิเคชันและประเมินผลประสิทธิภาพระบบเพื่อการจัดการข้อมูลธนาคารขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนมหาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ จำนวน 5 ท่าน และคณะกรรมการผู้ดำเนินโครงการธนาคารขยะ จำนวน 5 ท่าน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นคำถามแบบปลายเปิด เพื่อทราบถึงกระบวนการดำเนินงานในปัจจุบัน และความต้องการสำหรับระบบงานใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  


          ผลการวิจัยพบว่า 1) เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการข้อมูลธนาคารขยะ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนมหาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีการทำงานออกเป็น 4 ระบบ ได้แก่ ระบบจัดการข้อมูลสมาชิก ระบบรับซื้อ-ขายขยะ ระบบบริหารจัดการขยะ และระบบการแสดงผลรายงาน เป็นระบบที่สามารถทำงานได้ในทุกแพลตฟอร์มและไม่จำกัดอุปกรณ์ เพิ่มความสะดวกให้แก่คณะกรรมการของชุมชนในด้านการจัดเก็บข้อมูล และทำให้การเก็บข้อมูลเป็นระบบมากเป็นยิ่งขึ้น 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพด้านการพัฒนาระบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการข้อมูลธนาคารขยะ จากผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.13, S.D. = 0.64) 3)  ผลการประเมินประสิทธิภาพด้านการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการข้อมูลธนาคารขยะจากคณะกรรมการธนาคารขยะ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.58, S.D. = 0.61)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กองบรรณาธิการสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม. (2562). วิกฤตขยะ. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564,
https://greennews.agency/?p=19015.
[2] เทศบาลเมืองน่าน. (2563). รายงานผลการติดตามและประเมินน้ำเสียชุมชนระบบรวบรวมและบำบัดและระบบกำจัดขยะมูลฝอย
ภายใต้แผนปฏิบัติการสำหรับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัดปี 2559. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564,
http://waste.onep.go.th/projectdetail.php?id=342.
[3] วุฒิพงษ์ ชินศรี และศิริวรรณ วาสุกรี. (2558). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบปรนัย. วารสารวิจัยและ
พัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 1-17.
[4] ขวัญเรือน สินณรงค์ และชยากร พุทธกำเนิด. (2562). การจัดทำฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมขยะ
กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย. วารสารวิทยาลัยโลจิกส์และซัพพลายเชน, 5(1), 34-47.
[5] จิรายุ ธรวรินทร์, อาทิตยา ชัยกุล และสุกุมา อ่วมเจริญ. (2560). แอปพลิเคชันการจัดการขยะมูลฝอย. วารสารโครงงานวิทยาการ
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(2), 56-62.
[6] นัฐพงศ์ ส่งเนียม. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการขยะสำหรับศูนย์เรียนรู้ การจัดการขยะแบบครบวงจร.
วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 12(3), 506-521.
[7] พิชิต วันดี และคณะ. (2562). รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจรผ่านระบบ
คิวอาร์โค้ด ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
[8] โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.
[9] บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
[10] Ongiem, A. and P. Vichitvejpaisal. (2018). Validation of the tests. Thai Journal of Anesthesiology, 44(1), 36-42.
(in Thai).