การออกแบบระบบแจ้งเตือนสภาวะแวดล้อมทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง กรณีศึกษา สวนมะม่วง

Main Article Content

สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและออกแบบระบบแจ้งเตือนสภาวะแวดล้อมทางการเกษตร  โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และ 2) ศึกษาผลการทดลองใช้ระบบแจ้งเตือนสภาวะแวดล้อมทางการเกษตร  โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบแจ้งเตือนสภาวะแวดล้อมทางการเกษตร  โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 2) แบบบันทึกการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ การทดสอบประสิทธิภาพของระบบด้วยการตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ ดังต่อนี้ 1) ความเข้มข้นของแสง 2) ค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ และ 3) ค่าความชื้นในดิน  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบแจ้งเตือนสภาวะแวดล้อมทางการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง  กรณีศึกษาสวนมะม่วงสามารถทำการส่งข้อมูลต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายไร้สายมายังแสดงผลและแจ้งเตือนยังอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ และ 2) การศึกษาผลการทดลองใช้ระบบแจ้งเตือนสภาวะแวดล้อมทางการเกษตร  โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง  กรณีศึกษาสวนมะม่วง  พบว่า มีการแสดงผลได้ดังนี้ 1) ค่าความเข้มข้นของแสง สามารถวัดได้ตั้งแต่ 20,000-30,000 Lux ค่าความเหมาะสม จะอยู่ช่วงระหว่าง 25,000-27,000 Lux 2) ค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ สามารถวัดได้ตั้งแต่ 0 – 100 (˚C) ค่าความเหมาะสม จะอยู่ช่วงระหว่าง 20 – 34 (˚C) และ 3) ค่าความชื้นในดิน สามารถวัดได้ตั้งแต่ 20 %RH – 98 %RH ค่าความเหมาะสม  จะอยู่ช่วงระหว่าง 20 – 34 (˚C) ≤40%RH และ ≥65%RH

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์

  1. ชื่อ – นามสกุล (ภาษาไทย) : นายสิทธิโชค พรรค์พิทักษ์                                                                                                                         

   ชื่อ – นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) : Mr.Sittichok  Punpitak

  1. หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน : 33-1990-0021-756
  2. ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์: -
  3. ตำแหน่งทางบริหาร : ประธานสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตร
  4. สังกัด สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
  5. ประวัติการศึกษา

ปีการจบการศึกษาประเทศ

ระดับปริญญา

อักษรย่อปริญญาและชื่อเต็ม

สาขาวิชา

ชื่อสถาบันการศึกษา

2553

ปริญญาโท

วท.ม. (วิศวกรรมเครือข่าย) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

วิศวกรรมเครือข่าย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

2547

ปริญญาตรี

วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

วิศวกรรมเครื่องกล

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

  1. สาขาวิชาการที่มาความชำนาญพิเศษ (แตกต่างจากวุฒิการศึกษา) ระบุสาขาการ

  7.1  - โปรแกรมมิ่ง

  7.2  - แมคาทรอนิกส์

  7.3  - ระบบควบคุมอัตโนมัติ

  1. ภาระงานสอน

     - ตามแผนบริหารการสอน ทุกภาคการศึกษา

  1. สถานที่ติดต่อได้ปัจจุบัน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 80 ถ. นครสวรรค์   ต. ตลาด อ. เมือง จ. มหาสารคาม 44000
  2. โทรศัพท์ : 085-4940917
  3. E-mail : sittichok007@windowslive.com
  4. ผลการทางวิชาการ

       12.1   การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น .การระบบจัดการและการบริหารระบบเครือข่ายภายใน กรณีศึกษา บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด สาขาบุรีรัมย์. 2556

       12.2  -  การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาองค์กรและการวิจัยเชิงพื้นที่  ประจำปี 2558  .ระบบบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ. 2558 (โปรเตอร์ ผู้ร่วมวิจัย)

  1. หนังสือและตำรา

       -  เอกสารประกอบการสอน  วิชา  การออกแบบฐานข้อมูลทางการเกษตร

       -  เอกสารประกอบการสอน  วิชา  ปฏิบัติการโปรแกรมฐานข้อมูล 1

-  เอกสารประกอบการสอน  วิชา  เครือข่าย 1

References

[1] จำนง อุทัยบุตร, กอบเกียรติ แสงนิล และกานดา หวังชัย. 2551. การปรับปรุงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของ
มะม่วงพันธุ์มหาชนกเพื่อการส่งออก. รายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการวิจัย สำนักคณะกรรมการ
งานวิจัยแห่งชาติ.
[2] เจษฎา ขจรฤทธิ์,ปิยนุช ชัยพรแก้วและหนึ่งฤทัย เอ้งฉ้วน .(2560).การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Internet of
Things ในการควบคุมระบบส่องสว่างสาหรับบ้านอัจฉริยะ.วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี
และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.กรุงเทพฯ.
[3] แนวคิดของ ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง ความแม่นยำ ความเที่ยงตรง. สืบค้นจาก :
http://www.watpon.in.th/Elearning/validity.pdf
[4] พรรณวิภา อรุณจิตต์ ,นาวี โกรธกล้า และ ปิจิราวุช เวียงจันดา.(2558).โรงเรือนปลูกพืชควบคุมและ
มอนิเตอร์อัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมแห่งประเทศไทย
ระดับชาติ ครั้งที่ 16
[5] แนวคิดการออกแบบภาพรวมของระบบ. สืบค้นจาก : https://kru-it.com/computing-science-m3/iot/