การพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจของระบบบริหารจัดการโครงการวิจัย คือ ผู้ใช้งานจำนวน 20 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 3) แบบประเมินความพึงพอใจของระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย สถิติที่ใช้ คือ ค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย สามารถจัดเก็บรายละเอียดข้อมูลโครงการวิจัย ข้อมูลผลงานตีพิมพ์ ข้อมูลนักวิจัย และสามารถรายงานผลข้อมูลออกเป็นสารสนเทศได้ ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ พบว่าระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มีผลการประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.67 (S.D.=0.47) และผลการประเมินความพึงพอใจของระบบจากผู้ใช้งาน พบว่าระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยมีผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.48 (S.D.=0.57)
Article Details
References
[2] วศิน เพิ่มทรัพย์. (2516). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
[3] อารยา องค์เอี่ยม, และ พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร, 44(1) : 36-42.
[4] บุญชม ศรีสะอาด, และ บุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[5] Mohd. Ehmer Khan. (2011). DIFFERENT APPROACHES TO BLACK BOX TESTING TECHNIQUE FOR FINDING ERRORS. International Journal of Software Engineering & Applications (IJSEA), 2(4) : 31-40.
[6] วิภาดา คุณาวิกติกุล, อรอนงค์ วิชัยคำ, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, และ บุญพิชชา จิตต์ภักดี. (2558). ฐานข้อมูลงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2556 . พยาบาลสาร, 42(4) : 98-107.
[7] ไพรินทร์ ต้นพุฒ, พีรพงษ์ ตัวงาม, สุนิษา คงพิพัฒน์, และ สุวรรณา ก่อสุวรรณวงศ์. (2561). การพัฒนาระบบบริหารจัดการผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของบุคลากรในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 5(2) : 60-71.
[8] พิมพ์ชนก สุวรรณศรี, สุวรรณศรี จันทร, และ สุรีพร บุญอ้วน. (2563). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 12(23) : 81-92.