การพัฒนาหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย

Main Article Content

ณัฐพงศ์ พลสยม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย 2) ประเมินความเหมาะสมของหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย 3) ศึกษาผลการยอมรับหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหุ่นยนต์ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว เทคโนโลยีแบบไร้สาย จำนวน 3 คน เพื่อประเมินคุณภาพหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) หุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย 2) แบบประเมินคุณภาพของหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย  3) แบบวัดการยอมรับหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย   สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย พบว่าองค์ประกอบหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สายประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก  คือ ส่วนที่ 1 รีโมทควบคุมหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย ประกอบด้วย 1) ส่วนควบคุมการเปิด/ปิดของตัวรีโมท 2) ส่วนควบคุมความเร็วของหุ่นยนต์ 3) ส่วนควบคุมทิศทางของหุ่นยนต์ ส่วนที่ 2  องค์ประกอบโครงสร้างหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย ด้านฮาร์ดแวร์ และด้านซอฟต์แวร์ประกอบด้วย 1) อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย มอเตอร์ 2 ตัว, มอเตอร์ไดวร์ 2 ตัว, บอร์ด ESP8266 , receiver แบตเตอรี่ lipo 12v  2) ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย  Arduino IDE  2) ผลการประเมินความเหมาะสมของหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย  พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมของหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก  และ 3) ผลการศึกษาการยอมรับหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สุพศิน ลุนบง , ณัฐพงศ์ พลสยม (2562). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการควบคุมหุ่นยนต์ซูโม่ บังคับด้วยสมาร์ทโฟนบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
[2] ณัฐชัย กัดไธสง ,ณัฐพงศ์ พลสยม. (2561). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สาย.ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[4] อรพดี จูฉิม. (2556). บทบาทของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในยุค “Digital Economy”. หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยี สถาบัน
วิทยาการหุ่นยนต์
[5] บัณฑิต แก้วภูมิแห่ และธีรพงศ์ สุริโย. (2560). การพัฒนาระบบดูแลการเจริญเติบโตผักอัตโนมัติในแปลงเกษตรกางมุ้ง
(กรณีศึกษาผักคะน้า). ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[6] นคร สินคา และอรรถพล วงค์มาตย์. (2559).แบบจำลองลานจอดรถอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี RFID. โครงงานสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[7] ณัฐพงศ์ พลสยม(2562) ได้วิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว.ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.