การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

Main Article Content

อรยา สุขนิตย์
สุรสิทธิ์ ศักดา
วลัยรัชช์ นุ่นสงค์
วาสนา ณ.สุโหลง

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 2) ประเมินผลการทดลองใช้แอปพลิเคชันสำหรับเผยแพร่รข้อมูลการท่องเที่ยว อ.ทุ่งสง  จ.นครศรีธรรมราช และ 3) ประเมินผลการยอมรับของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชัน โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักท่องเที่ยวในพื้นที่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่  แอปพลิเคชันสำหรับเผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช  แบบประเมินความเหมาะสมของแอปพลิเคชันและแบบยอมรับของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการข้อมูลการท่องเที่ยว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช  พบว่าส่วนการทำงานประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนผู้ดูแลระบบจัดการข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ข้อมูลเทศกาลและวันสำคัญ ส่วนนักวิจารณ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว และส่วนนักท่องเที่ยวใช้งานในส่วนของการแสดงข้อมูล 2) ผลการทดลองใช้ในการทำงานทั้ง 3 ส่วนพบว่า ผู้ดูแลระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด  ( = 4.55, S.D. = 0.35) ผู้วิจารณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.46) และนักท่องเที่ยว อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.54) และ 3) ผลการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีได้แก่นักท่องเที่ยวทั้งหมด 30 คน พบว่าการยอมรับเทคโนโลยีแปลผลโดยรวมเท่ากับ มากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.51)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Organization World Tourism. (2015). UNWTO Annual Report 2014. Madrid.
[2] จำลอง ช่องลมกรด. (2540). ทุ่งสง 100 ปี 2540. โรงพิมพ์วุฒิสาส์น.
[3] สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. Retrieved from http://www.royin.go.th/dictionary/index.php
[4] อรยา ปรีชาพานิช. (2557). คู่มือเรียน การวิเคราะห์และออกแบบระบบ : System Analysis and Design. นนทบุรี: ไอดีซี.
[5] แสงจันทร์ เรืองอ่อน, สมพร เรืองอ่อน, สุนิษา คิดใจเดียว, ปฐมพงษ์ ฉับพลัน, & พบศิริ ขวัญเกื้อ. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนกูเกิลแมพสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสมือนจริงในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 6(2), 8-17.
[6] ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์, & ประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 31-48.
[7] ชุมแพร บุญยืน และคณะ. (2561, มกราคม - พฤษภาคม). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารช่อพยอม, 29(1), 359-371.
[8] บุญศรี พรหมมาพันธ์. (2562). เทคนิคการแปลคอมพิวเตอร์สำหรรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในการวิจัย. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยปรชาชื่น, 1(1).
[9] เกรียงศักดิ์ รักภักดี, & วชิระ โมราชาติ. (2561, กันยายน - ธันวาคม). การใช้เทคนิคเหมืองข้อมูลเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในจังหวัดอุบลราชธานี จากความต้อการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว. Graduate School Journal, 11(3), 165-177.