การพัฒนาระบบควบคุมและหาประสิทธิภาพการผลิตแก๊สไฮดรอกซิลสำหรับงานเชื่อม

Main Article Content

บุญธง วสุริย์
สัญญา ควรคิด
ธานิล ม่วงพูล

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบควบคุมการผลิตแก๊สไฮดรอกซิลสำหรับงานเชื่อม 2) ทดสอบประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาการยอมรับของนักศึกษา ตามแนวคิดของตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบควบคุมการผลิตแก๊สไฮดรอกซิลสำหรับงานเชื่อม 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบสอบถามการยอมรับเทคโนโลยีของกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                 ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบควบคุมการผลิตแก๊สไฮดรอกซิลสำหรับงานเชื่อม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) ส่วนควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการให้ระบบควบคุมการผลิตแก๊สไฮดรอกซิลสำหรับงานเชื่อมทำงาน อุปกรณ์หลัก ๆ ได้แก่ เซนเซอร์วัดกระแสและแรงดัน บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ชุดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องเชื่อมแก๊ส และชุดแจ้งเตือน และ (2) ส่วนเครื่องเชื่อมแก๊ส ทำงานโดยอาศัยกระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบพบว่าที่แรงดันไฟฟ้า 25 โวลต์ ปริมาณน้ำ 1 ลิตรต่อเบคกิ้งโซดา 1:10 กรัม ปริมาณแก๊สที่ช่วง 100 - 500 มิลลิลิตร ใช้ระยะเวลาการเกิดแก๊สเฉลี่ยที่ 5.71 - 39.30 นาที และการประยุกต์ใช้ในการเชื่อมบัดกรีหางปลากับสายไฟทองแดงขนาดพื้นที่หน้าตัด 35 ตารางมิลลิเมตร พบว่าใช้เวลาในการเชื่อมบัดกรีชิ้นงานเฉลี่ยที่ 26.29 วินาที และระดับอุณหภูมิที่ใช้ในการเชื่อมบัดกรีเฉลี่ยที่ 220.12 องศาเซลเซียส โดยลักษณะของชิ้นงานที่ได้จากการเชื่อมบัดกรีมีความคงทน และ 3) ส่วนผลการศึกษาความคิดเห็นที่มีผลต่อการยอมรับของนักศึกษาพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.53)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงกล ศรีธร. (2558). รายงานการวิจัยการศึกษาผลกระทบของกระบวนการเชื่อมต่อสมบัติทางกลของการเชื่อมพอกผิวแข็งเหล็กกล้าคาร์บอนด้วยทังสเตนคาร์ไบด์หลอมเหลว. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พงษ์ศักดิ์ พฤกษาพันธุ์รัตน และกนกวรรณ มาใหญ่. (2559). การศึกษาความเป็นไปได้ของการผลิตไฮโดรเจนจากน้ำด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ. (ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2557). ไฮโดรเจน (Hydrogen). สารานุกรมพลังงานทดแทน. กรุงเทพฯ.

พิชาญ พิชัยณรงค์, ปราโมทย์ สุขศิริศักดิ์, ณัฐชพงษ์ ศรียะพันธ์, สิรภพ ศิลปวิโรจน์, สุรสินธ์ พูลเพิ่ม และ ธนกฤต ฉินนะโสต. (2556). การพัฒนาระบบชุดแยกก๊าซออกซี่ไฮโดรเจนเพื่อเป็นพลังงานทดแทนในเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 11(11), 51-57.

ปราโมทย์ สุขศิริศักดิ์ และภานุพงศ์ ธรรมโชติ. (2563). การศึกษาระบบชุดแยกก๊าซไฮโดเจนด้วยกระแสไฟฟ้าแบบแยกเซลล์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ, 16(1), 52-59.

Ronald Reagon R, Kuldeep Jangir, Nitin Hooda, Utkarsh and Vivek Khandelwal. (2018). DESIGN AND FABRICATION OF HYDROGEN GENERATOR. International Journal of Technical Innovation in Modern Engineering & Science (IJTIMES), 4(6), 1202-1212.

จักรี ทำมาน และมานิตย์ อาษานอก. (2561). ผลการศึกษาองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการ วิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและ

นวัตกรรม, 5(1), 122-132.

อิศกฤตา โลหพรหม ณัฐธพงษ์ มณีทิพย์ และบุณย์ฤทธิ์ ประสาทแก้ว. (2557). การผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28. จังหวัดขอนแก่น.

Putha Prasad Kumar, K. Aruna Prabha, Ch. Priyadarsini, S. Swetha. (2019). Development and Applications of HHO Water Based Flame Torch. International Journal of Recent Technology and Engineering (IJRTE), 7(6s), 515-517.

อภิชาติ เหล็กดี และและณพรรธนนท์ ทองปาน. (2564). การพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมร้านอาหารสายพานด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2), 114-126.