การศึกษาการเก็บประจุและการปล่อยประจุของตัวเก็บประจุยวดยิ่งร่วมกับแบตเตอรี่โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน

Main Article Content

กิตติ กอบัวแก้ว
ประสิทธิ์ ภูสมมา

บทคัดย่อ

                งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเก็บประจุและปล่อยประจุของตัวเก็บประจุยิ่งยวดกับแบตเตอรี่ 2) หาประสิทธิภาพของตัวเก็บประจุยิ่งยวดกับแบตเตอรี่ในการเก็บประจุและปล่อยประจุ และ 3) หาประสิทธิผลการส่องสว่าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวเก็บประจุยิ่งยวดขนาดพิกัด 75F, 15V เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตัวเก็บประจุยิ่งยวด แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด เซลล์แสงอาทิตย์ หลอดแอลอีดี เครื่องบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย


            ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเก็บประจุและปล่อยประจุของตัวเก็บประจุยิ่งยวดร่วมกับแบตเตอรี่สามารถประจุที่ปริมาณกระแสสูงได้ แต่แรงดันไฟฟ้าไม่ควรเกินพิกัด การเปลี่ยนแปลงของแรงดันและกระแสจะเป็นแบบทันทีทันใด (Transient) เวลาที่ใช้ในการประจุจะขึ้นกับปริมาณของกระแส ยิ่งกระแสสูงเวลาที่ใช้เก็บพลังงานจนเต็มจะเร็วมาก 2) ประสิทธิภาพของตัวเก็บประจุยิ่งยวดร่วมกับแบตเตอรี่ในการเก็บประจุและปล่อยประจุ พบว่าเมื่อต่อร่วมตัวเก็บประจุยิ่งยวด แบตเตอรี่ เซลล์แสงอาทิตย์ ใช้เวลาเก็บประจุ 2 ชั่วโมง 48 นาที และหลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าตัวเก็บประจุยิ่งยวดกับแบตเตอรี่ ปล่อยประจุให้กับหลอดแอลอีดี ได้นาน 11 ชั่วโมง 13 นาที ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 93.18% โดยสามารถให้แสงสว่างป้ายมหาวิทยาลัยได้ตลอดทั้งคืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bodnar R., Redman W., and White W. A 250 W/30A fast charger for ultracapacitors with direct mains connection. 20th European Conference on Circuit Theory and Design, ECCTD 2011, Linkoping, Sweden. Aug. 2011, pp. 29-31,

Cao J., and Emadi A. A new battery/ultracapacitor hybrid energy storage system for electric, hybrid, and plug-in hybrid electric vehicles. IEEE Trans Power Electr,v vol. 27, no. 1, Feb. 2012.pp. 122–132.

ELNAco.,Ltd. Electric Double Layer Capacitor.[Online],Available: http:// www.elna. co.jp/en/capacitor/ double_layer/catalog/pdf/dlc_tecnote_e.pdf. [July 25, 2011].

Zubieta L and Bonert R. Characterization of Double-Layer Capacitors for Power Electronics Applications. IEEE TRANSACTIONS ONINDUSTRY APPLICATIONS. Vol. 36, No. 1, Feb. 2000, pp. 199-205.

Jia H., Mu Y., and Qi Y. A statistical model to determine the capacity of battery-supercapacitor hybrid energy storage system in autonomous microgrid. Int J Electr Power Energy Syst. vol. 54, Jan. 2014,pp. 516-524.

Miñambres-Marcos VM, Guerrero-Martínez MÁ, Barrero González F, andMilanés-Montero MI. A grid connected photovoltaic inverter with battery-supercapacitor hybrid energy storage. MDPI, Sensors 17. Aug. 2017, pp. 1-18.

Jiang X,Zhang J, andJian W. The Analysis of Ultracapacitor Charging Efficiency. 2013 International Conference on Computational and Information Sciences, Shiyan China.Jun. 2013, pp. 1198-1201.

Zakeri B, and Syri S. Electrical energy storage systems: a comparative life cycle cost analysis.Renew Sustain Energy, Rev. Vol. 42, Feb. 2015, pp. 569–596.