ระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยโดยใช้ภาพถ่ายความร้อนและภาพเหตุการณ์จริงแบบประหยัด

Main Article Content

วุฒิชัย พรพัชรพงศ์
ภัทราวัลย์ คำปลิว

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยโดยใช้ภาพถ่ายความร้อนและภาพเหตุการณ์จริงแบบประหยัด 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยโดยใช้ภาพถ่ายความร้อนและภาพเหตุการณ์จริงแบบประหยัด และ 3) ศึกษาผลความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้ระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยโดยใช้ภาพถ่ายความร้อนและภาพเหตุการณ์จริงแบบประหยัด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ จำนวน 3 คน และบุคคลทั่วไป ได้แก่ บุคคลทั่วไปในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยโดยใช้ภาพถ่ายความร้อนและภาพเหตุการณ์จริงแบบประหยัด 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยโดยใช้ภาพถ่ายความร้อนและภาพเหตุการณ์จริงแบบประหยัด 3) แบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยโดยใช้ภาพถ่ายความร้อนและภาพเหตุการณ์จริงแบบประหยัด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                 ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยโดยใช้ภาพถ่ายความร้อนและภาพเหตุการณ์จริงแบบประหยัด พบว่า ระบบใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับภาพความร้อน ทำงานร่วมกับเซนเซอร์ตรวจจับควัน และก๊าซ จากนั้นส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไวไฟ ไปยังเครื่องแม่ข่าย เพื่อทำการแจ้งเตือนอัคคีภัยทั้งการส่งเสียงเพื่อให้คนที่อยู่ใกล้เคียงรับรู้ถึงอัคคีภัย และแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชันไลน์ (Line Notify) พร้อมทั้งส่งภาพถ่ายในเหตุการณ์จริง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถประเมินสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเป็นระบบประหยัดและที่ใช้ได้จริง 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยโดยใช้ภาพถ่ายความร้อนและภาพเหตุการณ์จริงแบบประหยัด พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยโดยใช้ภาพถ่ายความร้อนและภาพเหตุการณ์จริงแบบประหยัด พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนดล มาลยเวช, ธนัช พลอินลุเพท, และ มนัสนันท์ สิงหพันธุ์. (2018). ระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยภายในบ้านผ่าน แอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์.

เสฏฐวุฒิ เตี้ยเนตร และวิมาน ใจดี. (2016). การพัฒนาระบบแจ้งเตือนการเกิดอัคคีภัย ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง.

Muheden, K., Erdem, E., & Vançin, S. (2016). Design and implementation of the mobile fire alarm system using wireless sensor networks. In 2016 IEEE 17th International Symposium on Computational Intelligence and Informatics (CINTI) (pp. 000243-000246). IEEE.

Bahrudin, M. S. B., Kassim, R. A., & Buniyamin, N. (2013, December). Development of fire alarm system using Raspberry Pi and Arduino Uno. In 2013 International Conference on Electrical, Electronics and System Engineering (ICEESE) (pp. 43-48). IEEE.

Zhang, L., & Wang, G. (2009). Design and implementation of automatic fire alarm system based on wireless sensor networks. In Proceedings. The 2009 International Symposium on Information Processing (ISIP 2009) (p. 410). Academy Publisher.

Dong, W. H., Wang, L., Yu, G. Z., & Mei, Z. B. (2016). Design of wireless automatic fire alarm system. Procedia Engineering, 135, 413-417.

Budi, W. T. A., & Suwardi, I. S. (2011, July). Fire alarm system based-on video processing. In Proceedings of the 2011 International Conference on Electrical Engineering and Informatics (pp. 1-7). IEEE.

บอย ดาศรี, & นรภัทร สานุจิตร. (2021). ระบบการตรวจจับไฟไหม้ด้วยวิธีการหาเส้นขอบของภาพและระบบสีHSV. วารสารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม, 2(1), 10-14.

เสฏฐวุฒิ เตี้ยเนตร, และวิมาน ใจดี. (2018). การพัฒนาระบบแจ้งเตือนการเกิดอัคคีภัยผ่านแอปพลิเคชันไลน์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 310-319