การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อควบคุมหุ่นยนต์บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

Main Article Content

ภาภรณ์ เหล่าพิลัย

บทคัดย่อ

   


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดเล็ก 2) พัฒนาแอปพลิเคชันควบคุมหุ่นยนต์ขนาดเล็กบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และ 3) ประเมินประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่ควบคุมผ่านแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หุ่นยนต์ขนาดเล็ก แอปพลิเคชันควบคุมหุ่นยนต์บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และแบบประเมินประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่ควบคุมผ่านแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์  โดยเขียนโปรแกรมและอัลกอรึทึ่มสำหรับควบคุมหุ่นยนต์ด้วยโปรแกรม Arduino IDE พัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาซี ใช้โปรแกรม App Inventor ช่วยให้สามารถพัฒนาแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดเล็ก พบว่า หุ่นยนต์ขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะโครงสร้างการทำงานคล้ายกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ และสามารถทำตามคำสั่ง โดยควบคุมการทำงานของขาทั้งซ้ายและขวา ให้เดินหน้า ถอยหลัง งอแขนและยกแขนของหุ่นยนต์ได้  2) ผลการพัฒนาแอปพลิเคชันควบคุมหุ่นยนต์ขนาดเล็กบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ พบว่า แอปพลิเคชันควบคุมหุ่นยนต์ขนาดเล็กบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งสัญญานเทคโนโลยีไร้สายเชื่อมต่อระหว่างหุ่นยนต์กับสมาร์ตโฟนทำให้หุ่นยนต์สามารถรับคำสั่งและทำตามได้อย่างแม่นยำ และ 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพ พบว่า หุ่นยนต์ขนาดเล็กมีลักษณะโครงสร้างการทำงานคล้ายกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ และสามารถทำตามคำสั่งได้อย่างแม่นยำและแอปพลิเคชันควบคุมหุ่นยนต์มีประสิทธิภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.82)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Depa. (2565). เทคโนโลยีที่สำคัญในยุคดิจิทัล: เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ Robotics and Automation System.

จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/tech-series-robotics-and-automation-system

Robotic Industries Association. (2020). From https://www.automate.org/a3-content/joseph-engelberger-

nimate.

วิกิพีเดีย. (2565). วิทยาการหุ่นยนต์. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วิทยาการหุ่นยนต์#cite_ref-8

Everything2. (2022). From http://everything2.com/index.pl?node=android

Barker, B. S., & Ansorge, J. (2007). Robotics as Means to Increase Achievement Scores in an Informal learning

Environment. Journal of Research on Technology in Education, 39(3), 229-243.

Vukobratovic, M. & Borovac, B. (2004). ZERO-MOMENT POINT –THIRTY FIVE YEARS OF ITS LIFE. International

Journal of Humanoid Robotics, 1(1), 157–173.

กฤษดา ใจเย็น และคณะ. (2561). POP-BOT X2 คู่มือสร้างและพัฒนาโปรแกรมเพื่อควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติด้วยภาษา C/C++ กับ

ARDUINO. กรุงเทพฯ: ไอเน็กซ์ บรอดแบนด์.

เอกรินทร์ ศรีผ่อง. (2554). ผลของเว็บคอมไพเลอร์ที่ใช้คอคนิทีฟทูลที่แตกต่างกันที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีระดับผลการเรียนแตกต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สานนท์ เจริญฉาย. (2550). การเขียนโปรแกรมและอัลกอริทึม กรณีตัวอย่างภาษาซี. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.

Chin, K. Y., Wu, C. H., & Hong, Z. W. (2011, August). A humanoid robot as a teaching assistant for primary

education. In 2011 Fifth International Conference on Genetic and Evolutionary Computing (pp. 21-24). IEEE.

ณัฐชัย กัดไธสง และณัฐพงศ์ พลสยม. (2561). การควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สาย. มหาสารคาม:

โครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ.

ณัฐชัย กัดไธสง. (2560). การควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สาย. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

สารสนเทศ, 2(1),1-8.

ณัฐพล เดชา และพิสิฐชัย เหล็กศรี. (2564). หุ่นยนต์สำหรับถ่ายรูปภายในโรงเรือนเห็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต).

มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์พริ้นทร์.